ถ้าทุกสิ่งสรรนั้นผันเปลี่ยน
จะเหลืออะไรให้ไขว่คว้า
ถ้าไม่กังวลกับความตาย
จะเหลืออะไรที่เราทำไม่ได้
ถ้าต้องการให้หด ต้องเริ่มจากการยอมให้ยืด
ถ้าต้องการให้สูญสิ้น ต้องเริ่มจากการยอมให้เฟื่องฟู
ถ้าต้องการได้ ต้องเริ่มจากการให้
นี่คือการเห็นแจ้งในธรรมชาติของสิ่งที่เป็นอยู่
ความอ่อนไหวเอาชนะความแข็งแกร่ง
ความเชื่องช้าเอาชนะความรวดเร็ว
กำลังทำอะไรไม่ต้องอวด
อวดแต่ผล
คำสัตย์นั้นไม่ไพเราะเสนาะหู
คำไพเราะเสนาะหูนั้นไม่ใช่คำสัตย์
คนฉลาดนั้นไม่ต้องการพิสูจน์จุดยืน
คนที่ต้องการพิสูจน์จุดยืนนั้นไม่ฉลาด
ถ้ายังต้องขอให้ผู้อื่นช่วยให้สมบูรณ์
เราจะไม่มีวันสมบูรณ์ที่แท้จริง
ถ้าความสุขนั้นขึ้นกับเงินทอง
ตัวเราเองจะไม่มีความสุขเลย
จงพอใจในสิ่งที่เรามี
จงยินดีกับสิ่งที่เราเป็น
เมื่อประจักษ์ว่าไม่มีอะไรที่ขาดหาย
เมื่อนั้นโลกทั้งหมดเป็นของเรา
"มันเป็นเช่นนั้นเอง"
จากหนังสือ "ธรรมมะจากพระภูเขา"
11/17/09
10/30/09
Blog read : นอนภาวนา ลดอาการตึงเครียด
คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าแก่นแท้แห่งพุทธศานานั้นถึอเป็นหลักแห่งสากล
ที่ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใดหรือซีกโลกไหนก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งสิ้น
เช่นเดียวกัย ดร.จอน คาบัต-ซิน เจ้าของหนังสือ Full Catastrophe Living
ที่ออกมาเปิดเผยว่า เขาเองก็เป็นคนหนึ่งที่นำหลังกพุทธศาสนามาปรับใช้
จนสามารถละลายความเครยดที่ต้องเจอะเจอในชีวิตประจำวันให้หายไป
เป็นปลิดทิ้ง ซึ่งหลักดังกล่าวมีชื่อง่าย ๆ ว่า "การอยู่กับปัจจุบันขณะ"
ดร. จอน ได้เขียนไว้ในหนังสือว่า เขาและเพื่อน ๆ เริ่มต้นฝึกการอยู่กับ
ปัจจุบันขณะด้วยวิธีฝึกดูจิตในท่านอนภาวนาเป็นเวลา 45 นาทีหลังอาหารกลางวัน
เริ่มจากนอนหงาย จากนั้นก็กำหนดจิตไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย
ส่วนผลนั้นแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า เพียง 30 นาทีแรกของการนอนภาวนา สามารถ
ทำให้รางกายผ่อนคลายเทียบเท่าการหลับลึก 3-4 ชั่วโมงเลยทีเดียว ที่สำคัญ
ยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขี้นเป็นเท่าตัวอีกด้วย
ในเมื่อการนอนภาวนาหลังมื้ออาหารมีข้อดีอย่างนี้ เห็นทีจะต้องขอตัว
ไปนอนกลางวัน เอ้ย ! นอนภาวนาหลังมื้อเที่ยงบ้างเสียแล้ว
ข้อมูลจาก: ศรัณยู นกแก้ว หนังสือ Secret
ที่ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใดหรือซีกโลกไหนก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งสิ้น
เช่นเดียวกัย ดร.จอน คาบัต-ซิน เจ้าของหนังสือ Full Catastrophe Living
ที่ออกมาเปิดเผยว่า เขาเองก็เป็นคนหนึ่งที่นำหลังกพุทธศาสนามาปรับใช้
จนสามารถละลายความเครยดที่ต้องเจอะเจอในชีวิตประจำวันให้หายไป
เป็นปลิดทิ้ง ซึ่งหลักดังกล่าวมีชื่อง่าย ๆ ว่า "การอยู่กับปัจจุบันขณะ"
ดร. จอน ได้เขียนไว้ในหนังสือว่า เขาและเพื่อน ๆ เริ่มต้นฝึกการอยู่กับ
ปัจจุบันขณะด้วยวิธีฝึกดูจิตในท่านอนภาวนาเป็นเวลา 45 นาทีหลังอาหารกลางวัน
เริ่มจากนอนหงาย จากนั้นก็กำหนดจิตไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย
ส่วนผลนั้นแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า เพียง 30 นาทีแรกของการนอนภาวนา สามารถ
ทำให้รางกายผ่อนคลายเทียบเท่าการหลับลึก 3-4 ชั่วโมงเลยทีเดียว ที่สำคัญ
ยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขี้นเป็นเท่าตัวอีกด้วย
ในเมื่อการนอนภาวนาหลังมื้ออาหารมีข้อดีอย่างนี้ เห็นทีจะต้องขอตัว
ไปนอนกลางวัน เอ้ย ! นอนภาวนาหลังมื้อเที่ยงบ้างเสียแล้ว
ข้อมูลจาก: ศรัณยู นกแก้ว หนังสือ Secret
10/24/09
best articleบทความดี ๆ 2:เผชิญหน้ากับความกลัวด้วยตัวเอง
คุณเคยกลัวอะไรอย่าสุดจิตสุดใจบ้างไหม
ถ้าตอบว่ากลัวตาย ข้อนี้เห็นจะกลัวกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป แต่ความกลัวที่ Secret
กำลังจะพูดถึงนี้เป็นความกลัวถึงขั้นที่เรียกว่า"โฟเบีย (Phobia)ซึ่งเป็นอาการกลัวอะไรอย่างมากจน
เกินไป ชนิดที่เรียกว่ามีอาการผวา กลัวอย่างรุนแรงและกลัวแบบไร้เหตุผล ที่สำคัญ ความกลัวที่ว่านี้ยัง
ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของบุคคลน้นด้วย
ผู้ที่เกิดอาการโฟเบียมักมีแนวโน้มที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งนั้น ๆ ซึ่งจะ
ส่งผลร้ายต่อไปอีกขั้น เพราะความพยายามในการหลีกเลี่ยงสัตว์ วัตถุ หรืออะไรก็แล้วแต่จะทำให้เกิดความ
เครียดและวิตกกังวลมากยิ่งขึ้นไปอีก
โดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่งอาการโฟเบียออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. โฟเบียแบบจำเพาะ เป็นความกลัวอย่างรุนแรงต่อวัตถุ สัตว์ หรืออะไรบางอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
เช่น กลัวหนู กลัวงู กลัวลิฟต์ กลัวเลือด กลัวความมืด กลัวหมอฟัน ฯลฯ
2. โฟเบียทางสังคม เป็นความกลัวสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น กลัวเวที กลัวการปรากฏตัวในที่สาธารณะ
กลัวที่จะต้องทำความรู้จักกับคนแปลกหน้า ฯลฯ ทำให้ผู้ที่มีความกลัวประเภทนี้มักหลีกเลียงการเข้าสังคม
เพราะกลัวว่าตนเองอาจแสดงอะไรที่ไม่เข้าท่าทำให้อับอายขายหน้าได้ ฟังแล้วอาจคล้ายคนขี้อาย แต่เป็น
อาการแบบอายสุดขั้ว ชนิดที่แทบไม่สามารถไปไหนมาไหนโดยลำพังได้ ซึ่งผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเช่นนี่ ถ้าไม่
คิดหาทางแก้ไข ก็จะส่งผลร้ายถึงขั้นที่ทำให้เกิดอาการเก็บกด ซึมเศร้า และเสียงต่อการเป็นโรคประสาทได้
ดร.จูเลียน เฮิร์สโกวิตซ์ ซึ่งดูแลเรื่องโฟเบียโดยเฉาะ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผู้ที่มีอาการโฟเบียมีแนวโน้ม
ที่จะตื่นเต้นง่าย อ่อนไหว มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เร็วกว่าคนปกติ นอกจากนั้นยังมักจะเป็นผู้ที่นิยมความ
สมบูรณ์แบบชนิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการคลุ้มคลั่งใกล้บ้ากับความผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อยรวมทั้งมักเป็น
คนช่างเก็บความรู้สึก ซึ่งหากมองย้อนกลับไปคนประเภทนี้มักได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัวที่เน้นการประคบ
ประหงมมากเป็นพิเศษ พวกเขาจึงมักจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ เมื่อโตขึ้นจึงกลายเป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานต่อ
ความผิดพลาดต่ำเกินไป
วิธีสลัด ความกลัว ด้วยตัวเอง
ขั้นแรก คุณต้องหันมาเผชิญหน้ากับความจริงและยอมรับว่าตัวเองมีอาการ
อย่างที่ว่าจริง ๆ โดยไม่ต้องไปใส่ใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับคุณ
ขั้นต่อมา ให้ปล่อยตัวเองไปตามสถานการณ์ นั่นคือ ถ้าคุณพบว่ากำลังตื่นเต้น
ขนาดหนักจนหายใจไม่ค่อยจะออก หัวใจทำท่าคล้ายกับจะหยุดเต้น จงบอกตัวเองว่า " ไม่มีอะไรมากหรอก
ฉันแค่กำลังกังวลใจมากไปหน่อยเท่านั้น" แล้วท่องไว้ในใจว่า " ถึงเหตุการณ์จะไปได้ไม่ค่อยสวยเท่าไร
แต่แค่นี้ไม่ถึงตายหรอก"
ขั้นสุดท้าย จงกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความกลัว โดยตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ เอาไว้
ในแต่ละวันหรือสัปดาห์ เช่น ถ้าคุณกลัวจนหัวใจเต้นไม่เป็นส่ำ เวลาที่ต้องพบกันคนเยอะ ๆ ก็ลองท้าทายตัวเองด้วย
การตั้งเป้าไว้ว่า วันนี้ฉันจะไปปาร์ตี้ หรือวันนี้ฉันจะยกมือขึ้นขอพูดในที่ประชุม หรือวันนี้ฉันจะชวนเพื่อนไปกินข้าว
และหากโชคร้าย ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปอย่างสะดวกง่ายดายตามที่คุณวางแผนไว้ ก็ให้คิดเสียว่า " โธ่เอ้ย...
ไม่เห็นจะเป็นไรเลย"
นอกจากนั้น ดร.คราฮานยังให้ความมั่นใจเพิ่มขึ้นด้วยว่าจากประสบการณ์ของเขาพบว่า ร้อยละ80-90ของผู้
ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหากได้รับการบำบัดพฤติกรรมที่ถูกวิธี ซึ่งไม่ใช่การสอนให้ผู้ป่วยต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง
แต่เป็นการจัดระบบความคิดให้ผู้ป่วยที่มองโลกในมุมใหม่ ซึ่งหลัก ๆ แล้วก็คือ การสอนให้รู้จักปล่อยวาง
และไม่เอาจริงเอาจังหรือเคร่งเครียดกับสิ่งละอันพันละน้อยที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวันมากจนเกินไป
และเมื่อผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายจิตใจ ก็จะได้รับความสงบทางร่างกายตามมา
ในทางพระพุทธศาสนา ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ความเห็นเกี่ยวกับความกลัวไว้ในหนังสือ ชุมนุมข้อคิดอิสระ สรุปความได้ว่า
ความกลัวเป็นหนึ่งในบรรดาหลาย ๆสิ่งที่มีอำนาจมากในการทำลายความสุข ความสำราญ หรือรบกวนประสาทของมนุษย์
และดูเหมือนธรรมชาติจะได้สร้างสัญชาตญาณนี้ให้แก่สัตว์ตั้งแต่เริ่มออกจากครรภ์เลยทีเดียว อุบายหนึ่งที่จะช่วยข่มความ
กลัวได้เป็นอย่างดีก็คือ จิตที่เป็นสมาธิ เพราะในขณะแห่งสมาธิ จิตจะไม่มีการคิดนึกอะไรเลย
เมื่อความเจ็บป่วยเกิดขึ้นทางใจ เราก็ต้องหาวิธีการเยียวยาไปที่ใจ ด้วยการลองทำใจให้สบาย ผ่อนคลายตัวเองอีกนิด
แล้วฝึกใจให้เป็นสมาธิอีกหน่อย พร้อมกับให้กำลังใจตัวเองอยู่เสมอ ด้วยการท่องไว้ในในว่า " กลัวได้ ก็หายได้ "
" เพียงเท่านี้ความกลัวก็จะพ่ายแพ้ให้แก่ใจที่แข็งแร่งของคุณอย่างไม่ต้องสงสัย"
บทความจาก: เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ หนังสือSecret ปีที่1ฉบับที่21
บทความดีๆ1:แง่คิดดี ๆในการใช้ชีวิตของโอปอล์-ปาณิสรา
- จงมองโลกในแง่ดี และใช้ชีวิตเหมือนทุกวันเป็นวันสุดท้ายที่ต้องใช้ให้คุ้มค่า
- อย่าเก็บปมด้อยมาทำร้ายชีวิตตัวเอง แต่จงเปลี่ยนเป็นแรงผลักดันให้ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
- จงกล้าเผชิญความเป็นจริงของชีวิต แล้วจะผ่านเหตุการ์ณร้าย ๆ ไปได้โดยไม่ต้องทนทุกข์
- ต่อให้ลำบากแค่ไหน อย่าลืมมีน้ำใจกับคนรอบข้าง
- จงรู้จักปล่อยวางและมองความทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
- ต้องกล้าที่จะแสดงความรักต่อคนที่เรารัก เพราะเราไม่รู้ว่าตัวเองจะมีชีวิตยืนยาวแค่ไหน
บทความจาก:หนังสือ Secret ปีที่1 ฉบับที่12
Subscribe to:
Posts (Atom)
-
ที่มาหนังสือ: นิพพานนอกวัด/ผู้แต่ง:พระอาจารย์วิเชียร วชิรปัญโญ วันนี้มีหนังสือมาแนะนำอีกเช่นเคย คิดว่าสำหรับผู้ที่ยังทำงาน มีครอบครั...
-
เรื่อง หนังสือwellfit เรามีเงินไว้ซื้อความสุข หรือซื้ออะไรก็ได้เพื่อให้รู้สึกดี ๆ ราคาที่เราจ่ายไปเพื่อความสุขและความภูมิใจนั้นแพงกว่าที่...
-
การอยู่เฉยๆ ทำตัวนิ่ง แบบ คนว่างงานนั้น มีประโยชน์อยู่มากมายอะไรบ้าง มาดูกันเลย ได้คุณภาพของงาน...