10/30/09

Blog read : นอนภาวนา ลดอาการตึงเครียด

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าแก่นแท้แห่งพุทธศานานั้นถึอเป็นหลักแห่งสากล
ที่ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใดหรือซีกโลกไหนก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งสิ้น
เช่นเดียวกัย ดร.จอน คาบัต-ซิน เจ้าของหนังสือ Full Catastrophe Living
ที่ออกมาเปิดเผยว่า เขาเองก็เป็นคนหนึ่งที่นำหลังกพุทธศาสนามาปรับใช้
จนสามารถละลายความเครยดที่ต้องเจอะเจอในชีวิตประจำวันให้หายไป
เป็นปลิดทิ้ง ซึ่งหลักดังกล่าวมีชื่อง่าย ๆ ว่า "การอยู่กับปัจจุบันขณะ"

ดร. จอน ได้เขียนไว้ในหนังสือว่า เขาและเพื่อน ๆ เริ่มต้นฝึกการอยู่กับ
ปัจจุบันขณะด้วยวิธีฝึกดูจิตในท่านอนภาวนาเป็นเวลา 45 นาทีหลังอาหารกลางวัน
เริ่มจากนอนหงาย จากนั้นก็กำหนดจิตไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย
ส่วนผลนั้นแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า เพียง 30 นาทีแรกของการนอนภาวนา สามารถ
ทำให้รางกายผ่อนคลายเทียบเท่าการหลับลึก 3-4 ชั่วโมงเลยทีเดียว ที่สำคัญ
ยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขี้นเป็นเท่าตัวอีกด้วย

ในเมื่อการนอนภาวนาหลังมื้ออาหารมีข้อดีอย่างนี้ เห็นทีจะต้องขอตัว
ไปนอนกลางวัน เอ้ย ! นอนภาวนาหลังมื้อเที่ยงบ้างเสียแล้ว
ข้อมูลจาก: ศรัณยู นกแก้ว หนังสือ Secret

10/24/09

best articleบทความดี ๆ 2:เผชิญหน้ากับความกลัวด้วยตัวเอง



คุณเคยกลัวอะไรอย่าสุดจิตสุดใจบ้างไหม
ถ้าตอบว่ากลัวตาย ข้อนี้เห็นจะกลัวกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป แต่ความกลัวที่ Secret
กำลังจะพูดถึงนี้เป็นความกลัวถึงขั้นที่เรียกว่า"โฟเบีย (Phobia)ซึ่งเป็นอาการกลัวอะไรอย่างมากจน
เกินไป ชนิดที่เรียกว่ามีอาการผวา กลัวอย่างรุนแรงและกลัวแบบไร้เหตุผล ที่สำคัญ ความกลัวที่ว่านี้ยัง
ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของบุคคลน้นด้วย

ผู้ที่เกิดอาการโฟเบียมักมีแนวโน้มที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งนั้น ๆ ซึ่งจะ
ส่งผลร้ายต่อไปอีกขั้น เพราะความพยายามในการหลีกเลี่ยงสัตว์ วัตถุ หรืออะไรก็แล้วแต่จะทำให้เกิดความ
เครียดและวิตกกังวลมากยิ่งขึ้นไปอีก

โดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่งอาการโฟเบียออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. โฟเบียแบบจำเพาะ เป็นความกลัวอย่างรุนแรงต่อวัตถุ สัตว์ หรืออะไรบางอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
เช่น กลัวหนู กลัวงู กลัวลิฟต์ กลัวเลือด กลัวความมืด กลัวหมอฟัน ฯลฯ
2. โฟเบียทางสังคม เป็นความกลัวสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น กลัวเวที กลัวการปรากฏตัวในที่สาธารณะ
กลัวที่จะต้องทำความรู้จักกับคนแปลกหน้า ฯลฯ ทำให้ผู้ที่มีความกลัวประเภทนี้มักหลีกเลียงการเข้าสังคม
เพราะกลัวว่าตนเองอาจแสดงอะไรที่ไม่เข้าท่าทำให้อับอายขายหน้าได้ ฟังแล้วอาจคล้ายคนขี้อาย แต่เป็น
อาการแบบอายสุดขั้ว ชนิดที่แทบไม่สามารถไปไหนมาไหนโดยลำพังได้ ซึ่งผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเช่นนี่ ถ้าไม่
คิดหาทางแก้ไข ก็จะส่งผลร้ายถึงขั้นที่ทำให้เกิดอาการเก็บกด ซึมเศร้า และเสียงต่อการเป็นโรคประสาทได้


ดร.จูเลียน เฮิร์สโกวิตซ์ ซึ่งดูแลเรื่องโฟเบียโดยเฉาะ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผู้ที่มีอาการโฟเบียมีแนวโน้ม
ที่จะตื่นเต้นง่าย อ่อนไหว มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เร็วกว่าคนปกติ นอกจากนั้นยังมักจะเป็นผู้ที่นิยมความ
สมบูรณ์แบบชนิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการคลุ้มคลั่งใกล้บ้ากับความผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อยรวมทั้งมักเป็น
คนช่างเก็บความรู้สึก ซึ่งหากมองย้อนกลับไปคนประเภทนี้มักได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัวที่เน้นการประคบ
ประหงมมากเป็นพิเศษ พวกเขาจึงมักจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ เมื่อโตขึ้นจึงกลายเป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานต่อ
ความผิดพลาดต่ำเกินไป

วิธีสลัด ความกลัว ด้วยตัวเอง
ขั้นแรก คุณต้องหันมาเผชิญหน้ากับความจริงและยอมรับว่าตัวเองมีอาการ
อย่างที่ว่าจริง ๆ โดยไม่ต้องไปใส่ใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับคุณ
ขั้นต่อมา ให้ปล่อยตัวเองไปตามสถานการณ์ นั่นคือ ถ้าคุณพบว่ากำลังตื่นเต้น
ขนาดหนักจนหายใจไม่ค่อยจะออก หัวใจทำท่าคล้ายกับจะหยุดเต้น จงบอกตัวเองว่า " ไม่มีอะไรมากหรอก
ฉันแค่กำลังกังวลใจมากไปหน่อยเท่านั้น" แล้วท่องไว้ในใจว่า " ถึงเหตุการณ์จะไปได้ไม่ค่อยสวยเท่าไร
แต่แค่นี้ไม่ถึงตายหรอก"
ขั้นสุดท้าย จงกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความกลัว โดยตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ เอาไว้
ในแต่ละวันหรือสัปดาห์ เช่น ถ้าคุณกลัวจนหัวใจเต้นไม่เป็นส่ำ เวลาที่ต้องพบกันคนเยอะ ๆ ก็ลองท้าทายตัวเองด้วย
การตั้งเป้าไว้ว่า วันนี้ฉันจะไปปาร์ตี้ หรือวันนี้ฉันจะยกมือขึ้นขอพูดในที่ประชุม หรือวันนี้ฉันจะชวนเพื่อนไปกินข้าว
และหากโชคร้าย ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปอย่างสะดวกง่ายดายตามที่คุณวางแผนไว้ ก็ให้คิดเสียว่า " โธ่เอ้ย...
ไม่เห็นจะเป็นไรเลย"

นอกจากนั้น ดร.คราฮานยังให้ความมั่นใจเพิ่มขึ้นด้วยว่าจากประสบการณ์ของเขาพบว่า ร้อยละ80-90ของผู้
ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหากได้รับการบำบัดพฤติกรรมที่ถูกวิธี ซึ่งไม่ใช่การสอนให้ผู้ป่วยต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง
แต่เป็นการจัดระบบความคิดให้ผู้ป่วยที่มองโลกในมุมใหม่ ซึ่งหลัก ๆ แล้วก็คือ การสอนให้รู้จักปล่อยวาง
และไม่เอาจริงเอาจังหรือเคร่งเครียดกับสิ่งละอันพันละน้อยที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวันมากจนเกินไป

และเมื่อผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายจิตใจ ก็จะได้รับความสงบทางร่างกายตามมา

ในทางพระพุทธศาสนา ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ความเห็นเกี่ยวกับความกลัวไว้ในหนังสือ ชุมนุมข้อคิดอิสระ สรุปความได้ว่า
ความกลัวเป็นหนึ่งในบรรดาหลาย ๆสิ่งที่มีอำนาจมากในการทำลายความสุข ความสำราญ หรือรบกวนประสาทของมนุษย์
และดูเหมือนธรรมชาติจะได้สร้างสัญชาตญาณนี้ให้แก่สัตว์ตั้งแต่เริ่มออกจากครรภ์เลยทีเดียว อุบายหนึ่งที่จะช่วยข่มความ
กลัวได้เป็นอย่างดีก็คือ จิตที่เป็นสมาธิ เพราะในขณะแห่งสมาธิ จิตจะไม่มีการคิดนึกอะไรเลย

เมื่อความเจ็บป่วยเกิดขึ้นทางใจ เราก็ต้องหาวิธีการเยียวยาไปที่ใจ ด้วยการลองทำใจให้สบาย ผ่อนคลายตัวเองอีกนิด
แล้วฝึกใจให้เป็นสมาธิอีกหน่อย พร้อมกับให้กำลังใจตัวเองอยู่เสมอ ด้วยการท่องไว้ในในว่า " กลัวได้ ก็หายได้ "

" เพียงเท่านี้ความกลัวก็จะพ่ายแพ้ให้แก่ใจที่แข็งแร่งของคุณอย่างไม่ต้องสงสัย"

บทความจาก: เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ หนังสือSecret ปีที่1ฉบับที่21

บทความดีๆ1:แง่คิดดี ๆในการใช้ชีวิตของโอปอล์-ปาณิสรา







- จงมองโลกในแง่ดี และใช้ชีวิตเหมือนทุกวันเป็นวันสุดท้ายที่ต้องใช้ให้คุ้มค่า

- อย่าเก็บปมด้อยมาทำร้ายชีวิตตัวเอง แต่จงเปลี่ยนเป็นแรงผลักดันให้ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

- จงกล้าเผชิญความเป็นจริงของชีวิต แล้วจะผ่านเหตุการ์ณร้าย ๆ ไปได้โดยไม่ต้องทนทุกข์

- ต่อให้ลำบากแค่ไหน อย่าลืมมีน้ำใจกับคนรอบข้าง

- จงรู้จักปล่อยวางและมองความทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

- ต้องกล้าที่จะแสดงความรักต่อคนที่เรารัก เพราะเราไม่รู้ว่าตัวเองจะมีชีวิตยืนยาวแค่ไหน
บทความจาก:หนังสือ Secret ปีที่1 ฉบับที่12