คือ ความระลึกอยู่เสมอว่าขณะนี้เราทำอะไร มีสติตั้งมั่นอยู่กับการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม จะยืน เดิน นั่ง นอน กำหนดสติพิจารณาทุกอิริยาบถ
วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
การยืน
ให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตรง หน้าตรง หลับตา ให้สติอยู่ที่กลางกระหม่อม สำรวมจิต เอาสติตาม วาดมโนภาพร่างกาย คำว่า ยืน จากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่าหนอ จากสะดือลงไปปลายเท้านับเ้ป็น 1 ครั้ง ครั้งที่สอง กำหนดขึ้นคำว่า ยืน จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่าหนอ จากสะดือไปกลางกระหม่อม กำหนดกลับไปกลับมา จนครบ 5 ครั้ง ขณะนั้นสำรวมจิตอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกนอกกาย แล้วลืมตา ค่อย ๆ ก้มหน้ามองดูปลายเท้า ให้สติจับอยู่ที่เท้าเพื่อเตรียมเดินจงกรมต่อไป
การเดิน
กำหนดว่า ขวาย่างหนอ ในใจคำว่า ขวา ยกส้นเท้าขวาขึ้นประมาณ 2นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องพร้อมกัน ย่าง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ เท้ายังไม่เหยียบ คำว่า หนอ เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน จากนั้น สำรวมจิตไว้ที่เท้าซ้ายตั้งสติปักลงไป กำหนดว่า ซ้ายย่างหนอสลับกันเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ 1 คืบ เพื่อการทรงตัวขณะก้าวได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่แล้ว ให้นำเท้ามาเคียงกัน หน้าตรง หลับตา กำหนดยืนหนอช้าๆ อีก 5 ครั้ง จากนั้นลืมตา ก้มหน้า มองดูปลายเท้า
การกลับ
กำหนดว่า กลับ...หนอ 4 ครั้ง คำว่า กลับหนอครั้งที่หนึ่งยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา 90 องศา ครั้งที่สอง เคลื่อนเท้าซ้ายมาชิดกับเท้าขวา ครั้งที่สามทำเหมือนครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สี่ทำเหมือนครั้งที่ 2 เมื่อครบสี่ครั้งแล้วจะอยู่ในท่ากลับหลัง ต่อไปกำหนด ยืนหนอช้า ๆ อีก 5 ครั้ง ลืมตาก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไปจนหมดเวลาที่ต้องการ
การนั่ง
ให้ทำต่อจากการเดินจงกรม อย่าให้ขาดตอนเมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนดยืนหนออีก 5 ครั้ง แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอ ๆๆ ช้า ๆ จนกว่าจะลงสุด เวลานั่งค่อย ๆ ย่อลงตัวลง พร้อมกำหนดตามอารมณ์ที่ทำไป จริง ๆ เช่น ย่อตัวหนอ ๆๆ เท้าพื้นหนอๆๆ คุกเข่าหนอ ๆๆ นั่งหนอๆๆ เป็นต้น
วิธีนั่ง
ให้นั่งขัดสมาธิ คือขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรงหลับตาเอาสติจับอยู่ที่ท้องพอง ยุบ เวลา หายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า พองหนอ หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่า ยุบหรอ ใจนึกกับท้อง ที่พอง ยุบต้องให้ทันกัน ให้สติจับอยู่ที่การพองยุบของท้องเท่านั้น อย่าดูลมที่จมูกอย่าตะเบ็งท้อง ให้รู้สึกตามความเป็นจริงว่า ท้องพองไปข้างหน้าท้องยุบมาข้างหลัง กำหนดเช่นนี้ไปจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด
การนอน
เวลานอนค่อย ๆ เอนตัวนอน พร้อมกับกำหนดตามไปว่านอนหนอ ๆๆ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้ว ให้ตั้งสติจับอยู่ที่ท้องหายใจเข้าออกยาว ๆ สบาย ๆ ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ ได้ยินอะไรก็กำหนดไปเรื่อย ๆ อย่าไปเพ่งที่ท้องมาก ไม่หลับ ให้ตั้งสติไว้ หายใจเรื่อยไปว่า พองหนอ ยุบหรอ จนกว่าจะหลับ เมื่อตื่นก่อนลืมตาให้กำหนดว่า ตื่นหนอ กำหนดที่ท้องว่าพอหนอ ยุบหนอ จนกว่าจะหลับ เมื่อตื่นก่อนลืมตาให้กำหนดว่า ตื่นหนอ กำหนดที่ท้องว่าพองหนอ ยุบหนอ ครู่หนึ่ง แล้วกำหนดลืมตา และการลุกขึ้นนั่งต่อไป
จากหนังสือ:หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม
11/22/10
11/20/10
mybook
ดูแล้วประทับใจมากเลยค่ะ
ทำให้คิดถึงกองหนังสือที่บ้านที่ถูกทอดทิ้งไว้บนชั้นหนังสือ
ไม่ได้รับการเหลียวแล ทั้ง ๆที่ตอนแรกอยากจะอ่านมันมากมาย
จะทยอยหยิบมาอ่านให้หมดให้ได้เลย สัญญาจ้ะ
Subscribe to:
Posts (Atom)
-
ที่มาหนังสือ: นิพพานนอกวัด/ผู้แต่ง:พระอาจารย์วิเชียร วชิรปัญโญ วันนี้มีหนังสือมาแนะนำอีกเช่นเคย คิดว่าสำหรับผู้ที่ยังทำงาน มีครอบครั...
-
เรื่อง หนังสือwellfit เรามีเงินไว้ซื้อความสุข หรือซื้ออะไรก็ได้เพื่อให้รู้สึกดี ๆ ราคาที่เราจ่ายไปเพื่อความสุขและความภูมิใจนั้นแพงกว่าที่...
-
สโตนเฮนจ์ (StoneHenge) สโตนเฮนจ์ (StoneHenge) แห่งเมืองซาลเบอรี่ (Salisbury) ประเทศอังกฤษ มีอายุนานประมาณ 5,000-6,000 ปีผู้สนใจสามารถหาข้...