Showing posts with label ศาสนา. Show all posts
Showing posts with label ศาสนา. Show all posts

11/22/10

กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน

     คือ การรู้สภาพของกายในขณะนั้นว่ากำลังทำอะไรอยู่ ไม่ว่ากายจะยืน กายจะเดิน กายจะนั่ง กายจะนอน จะพักผ่อนอันใดมีสติควบคุม จิตต้องกำหนด กำหนดกายยืน กำหนดกายนั่ง กำหนดกายนอน กำหนดกายที่จะเอนลงไปต้องกำหนดทุกอิริยาบถ จะก้าวเยื้องซ้ายและขวาไปที่ไหนกำหนดตั้งสติไว้ให้เป็นปัจจุบัน

     กำหนด  แปลว่า ความรู้ของชีวิตอันมีสติควบคุมเช่น ก่อนจะเดินให้สำรวมจิตอยู่ที่เท้าขวา ตั้งสติปักลงไป แล้วกำหนดในใจคำว่าขวา ให้ยกส้นเท้าขวาขึ้น ตั้งสติระลึกรู้พร้อมกับส้นเท้าขวาที่ยกขึ้นก้าวท้าวขวาไปข้างหน้า สติระลึกรู้พร้อมกับส้นเท้าขวาที่เคลื่อนไปข้างหน้า หนอวางเท้าลงถึงพื้น ปลายเท้าและส้นเท้าลงพร้อมกัน สติระลึกรู้พร้อมกับเท้าที่ลงสัมผัสพื้น หรือจะหยิบสิ่งของอะไร ก็ให้สำรวมจิตอยู่ที่มือข้างที่จะหยิบ ตั้งสติปักลงไปที่มือข้างที่จะหยิบสิ่งของอะไร ก็ให้สำรวมจิตอยู่ที่มือข้างที่จะหยิบ ตั้งสติปักลงไปที่มือข้างที่จะหยิบนั้นแล้วกำหนดในใจว่า หยิบหนอ หยิบหนอ สติระลึกพร้อมกับมือข้างที่กำลังหยิบของสิ่งนั้น เป็นต้น
จากหนังสือ: หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม

สติปัฎฐานสี่

คือ ความระลึกอยู่เสมอว่าขณะนี้เราทำอะไร มีสติตั้งมั่นอยู่กับการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม จะยืน เดิน นั่ง นอน กำหนดสติพิจารณาทุกอิริยาบถ
              วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
การยืน
               ให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตรง หน้าตรง หลับตา ให้สติอยู่ที่กลางกระหม่อม สำรวมจิต เอาสติตาม วาดมโนภาพร่างกาย คำว่า ยืน จากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่าหนอ จากสะดือลงไปปลายเท้านับเ้ป็น 1 ครั้ง ครั้งที่สอง กำหนดขึ้นคำว่า ยืน จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่าหนอ จากสะดือไปกลางกระหม่อม กำหนดกลับไปกลับมา จนครบ 5 ครั้ง ขณะนั้นสำรวมจิตอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกนอกกาย แล้วลืมตา ค่อย ๆ ก้มหน้ามองดูปลายเท้า ให้สติจับอยู่ที่เท้าเพื่อเตรียมเดินจงกรมต่อไป

การเดิน
              กำหนดว่า ขวาย่างหนอ ในใจคำว่า ขวา ยกส้นเท้าขวาขึ้นประมาณ 2นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องพร้อมกัน ย่าง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ เท้ายังไม่เหยียบ  คำว่า หนอ เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน จากนั้น สำรวมจิตไว้ที่เท้าซ้ายตั้งสติปักลงไป กำหนดว่า ซ้ายย่างหนอสลับกันเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ 1 คืบ เพื่อการทรงตัวขณะก้าวได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่แล้ว ให้นำเท้ามาเคียงกัน หน้าตรง หลับตา กำหนดยืนหนอช้าๆ อีก 5 ครั้ง จากนั้นลืมตา ก้มหน้า มองดูปลายเท้า

การกลับ
             กำหนดว่า กลับ...หนอ 4 ครั้ง คำว่า กลับหนอครั้งที่หนึ่งยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา 90 องศา ครั้งที่สอง เคลื่อนเท้าซ้ายมาชิดกับเท้าขวา ครั้งที่สามทำเหมือนครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สี่ทำเหมือนครั้งที่ 2 เมื่อครบสี่ครั้งแล้วจะอยู่ในท่ากลับหลัง ต่อไปกำหนด ยืนหนอช้า ๆ อีก 5 ครั้ง ลืมตาก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไปจนหมดเวลาที่ต้องการ

การนั่ง
            ให้ทำต่อจากการเดินจงกรม อย่าให้ขาดตอนเมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนดยืนหนออีก 5 ครั้ง แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอ ๆๆ ช้า ๆ จนกว่าจะลงสุด เวลานั่งค่อย ๆ ย่อลงตัวลง พร้อมกำหนดตามอารมณ์ที่ทำไป จริง ๆ เช่น ย่อตัวหนอ ๆๆ เท้าพื้นหนอๆๆ คุกเข่าหนอ ๆๆ นั่งหนอๆๆ เป็นต้น

วิธีนั่ง
           ให้นั่งขัดสมาธิ คือขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรงหลับตาเอาสติจับอยู่ที่ท้องพอง ยุบ เวลา หายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า พองหนอ หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่า ยุบหรอ ใจนึกกับท้อง ที่พอง ยุบต้องให้ทันกัน ให้สติจับอยู่ที่การพองยุบของท้องเท่านั้น อย่าดูลมที่จมูกอย่าตะเบ็งท้อง ให้รู้สึกตามความเป็นจริงว่า ท้องพองไปข้างหน้าท้องยุบมาข้างหลัง กำหนดเช่นนี้ไปจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด

การนอน
           เวลานอนค่อย ๆ เอนตัวนอน พร้อมกับกำหนดตามไปว่านอนหนอ ๆๆ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้ว ให้ตั้งสติจับอยู่ที่ท้องหายใจเข้าออกยาว ๆ สบาย ๆ ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ ได้ยินอะไรก็กำหนดไปเรื่อย ๆ อย่าไปเพ่งที่ท้องมาก ไม่หลับ ให้ตั้งสติไว้ หายใจเรื่อยไปว่า พองหนอ ยุบหรอ จนกว่าจะหลับ เมื่อตื่นก่อนลืมตาให้กำหนดว่า ตื่นหนอ กำหนดที่ท้องว่าพอหนอ ยุบหนอ จนกว่าจะหลับ เมื่อตื่นก่อนลืมตาให้กำหนดว่า ตื่นหนอ กำหนดที่ท้องว่าพองหนอ ยุบหนอ ครู่หนึ่ง แล้วกำหนดลืมตา และการลุกขึ้นนั่งต่อไป  

จากหนังสือ:หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม

10/14/10

นำผู้ป่วยโคม่า สู่ความสงบ


เรื่องจาก Secret:Joyful Life&Peaceful Death
เราควรปฏิบัติอย่างไรกับผู้ป่วยโคม่า ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าผู้ป่วยโคม่า
นั้นไม่สามารถรับรู้อะไรได้ เพราะไม่มีอาการตอบสนองใดๆ เลยจึงมักปฏิบัติ
กับเขาเหมือนกับคนที่สลบไสลไร้สมปฤดี
แต่การรับรู้ของคนเรานั้นซับซ้อนกว่าที่เข้าใจกัน มีตัวอย่างมากมายที่ชี้ว่า
ผู้ป่วยโคม่าซึ่งดูเหมือนหมดสตินั้นยังสามารถได้ยินเสียงจากญาติหรือผู้ที่
อยู่รอบเตียงได้ แม้จะไม่ตลอดเวลาก็ตาม
คุณยายวัยเจ็บสิบหัวใจหยุดเต้น แต่หลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือจนหัวใจ
เต้นใหม่ ก็นอนแน่นิ่งไม่ตอบสนองใด ๆนานนับเดือน ระหว่างนั้นมีญาติมิตร
มาเยี่ยมมากมาย ใครต่อใครก็บอกคุณยายว่า หายไว ๆ แล้วกลับบ้านนะ
แต่คุณยายไม่แสดงอาการรับรู้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ลูกชายที่เฝ้าไข้
สังเกตว่า เวลาพลิกตัวแม่ จะมีน้ำตาไหลออกมาเหมือนกับว่าแม่รู้สึกเจ็บ
วันหนึ่งจึงพูดกับแม่ว่า แม่เหนื่อยไหม ทรมานไหม ถ้าแม่เหนื่อย แม่ทรมาน
จะไปก็ได้นะ ไม่ต้องเป็นห่วง จากนั้นก็ชวนแม่สวดมนต์ทำสมาธิ พอทำไปได้
แค่ 5นาที ความดันของคุณยายก็ตกจนเหลือศูนย์ แล้วก็จากไปอย่างสงบ
     กรณีนี้ไม่เพียงชี้ว่าผู้ป่วยโคม่าสามารถได้ยินเสียงคนรอบข้างเท่านั้น
หากยังย้ำให้เราพึงตระหนักว่า คำพูดของญาติพี่น้องหรือหมอพยาบาลมีความ
สำคัญมากต่อผู้ป่วย ยิ่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งหมดหวังที่จะรักษาแล้ว การพูด
ให้เขาปล่อยวางเพื่อจากไปอย่างสงบ น่าจะดีกว่าการพูดเหนี่ยวรั้งเขาเอาไว้ เพราะการพูดอย่างหลังนั้นอาจทำให้เขาพยายามยื้อสู้กับความตายด้วยความรู้สึกห่วงใยผู้ที่ยังอยู่หรือรู้สึกผิดที่จะต้องตาย ซึ่งมีแต่จะทำให้เขาทุกข์มากขึ้น
      หมอผู้หนึ่งบินกลับจากอเมริกาทันทีที่รู้ว่าแม่ป่วยหนัก  แต่มาเยี่ยมแม่ได้
แค่ 2 วัน แม่ก็หัวใจหยุดเต้นจึงถูกปั๊มหัวใจอย่างเต็มที่ ผู้เป็นลูกทำใจไม่ได้ที่แม่จากไปกะทันหัน ถึงกับร่ำไห้ขณะเขย่าตัวแม่ แล้วพูดกับแม่ว่า แม่อย่าเพิ่งไป
แม่ทิ้งผมไปทำไม ผมอุตสาห์รีบกลับมาหาแม่ ทำไมแม่อยู่กับผมแค่สองวัน ผ่านไปสักพักแม่ก็ฟื้น เมื่อรู้สึกตัวก็พูดกับลูกว่า ทีหลังอย่าเรียกแม่กลับมาอีกนะ  แล้วแม่ก็เล่าว่า ตอนที่หัวใจหยุดเต้นนั้น รอบตัวมีแต่ความมืดมิด สักครู่ก็เห็นแสงสว่างอยู่ไกล ๆ ขณะที่กำลังลอยไปยังแสงสว่างจนเกือบจะถึงแล้ว ได้ยินเสียงลูกร้องไห้ รู้สึกเป็นห่วงลูกมาก จึงตัดสินใจกลับมาเพื่อบอกลูกให้ปล่อยแม่ไปเถิด
          ไม่เพียงได้ยินเท่านั้น  ผู้ป่วยโคม่ายังสามารถเห็นสิ่งรอบตัวได้ด้วยแม้ดูเหมือนสลบไสลอยู่ก็ตาม มีชายผู้หนึ่งหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ทันทีที่ถึงโรงพยาบาล พยาบาลก็ทำการกระตุ้นหัวใจอย่างเร่งด่วนพร้อมกับใส่ท่อช่วยหายใจ แต่เนื่องจากผู้ป่วยสวมฟันปลอม จึงต้องถอดก่อนที่จะใส่ท่อ หลังจากช่วยชีวิตไว้ได้ ผู้ป่วยได้พักฟื้นที่โรงพยาบาล หลายวันต่อมาชายผู้นี้เห็นพยาบาลคนหนึ่งเดินผ่านมาจึงทักและถามว่า คุณใช่ไหมที่ถอดฟันปลอมผม พยาบาลประหลาดมากว่าเขารู้ได้อย่างไร เพราะตอนนั้นเขาหมดสติอยู่
     มิใช่แต่ผู้ป่วยโคม่าเท่านั้น กระทั่งผู้ป่วยที่หมอวินิจฉัยว่ามีสภาพคล้ายผักก็มีหลักฐานว่าเขาสามารถรับรู้ได้ และไม่เพียงเขาจะได้ยินและสามารถคิดตามได้เท่านั้น หากยังรับรู้สัมผัสและความเจ็บปวดได้ด้วย
    ผู้ป่วยรายหนึ่งเส้นเลือดในสมองแตกทั้งสองข้างและหมดสติไปจากนั้นก็ไม่แสดงอาการตอบสนองอีกเลย หมอวินิจฉัยว่าเป็นผัก คือแน่นิ่งเหมือนเจ้าชายนิทรา แต่ต่อมาเขาได้รับการเยียวยารักษาจนสามารถฟื้นขึ้นมาได้ รวมทั้งได้รับการบำบัดจนมีชีวิตเหมือนคนปกติเขาเล่าถึงเหตุการ์ณตอนที่หมอพยายามวินิจฉัยว่าเขาเป็นผักหรือไม่ หมอบีบหัวแม่โป้งของเขาอย่างแรง ตอนนั้นเขาปวดมาก อยากตะโกน ให้หมอหยุดบีบแต่ก็พูดไม่ได้ จากนั้นก็ได้ยินหมอพูดกันเองว่า คนไข้คนนี้เป็นผักถาวร
        แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ผู้ป่วยโคม่าหรือผู้ที่มีสภาพคล้ายผักทุกคนสามารถได้ยิน เห็น หรือรับรู้สัมผัสทางกายได้ แต่ย่อมเป็นการดีกว่า หากเราปฏบัติต่อผู้ป่วยดังกล่าวเสมือนคนปกติที่สามารถรับรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวหรือกับตัวเอง นั่นคือ ปฏิบัติกับเขาด้วยความอ่อนโยน เวลาจะใส่ท่อ ฉีดยา ขยับตัวเขา ก็ควรบอกให้เขารู้ก่อน
     นอกจากการดูแลทางกายแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือการบรรเทาความทุกข์ทางใจ ลูกหลานหรือฐาติมิตรควรพูดกับเขาด้วยความใส่ใจ แสดงความรักต่อเขาด้วยสัมผัสหรือน้ำเสียงที่นุ่มนวลอ่านหนังสือธรรมะหรือหนังสือเล่มโปรดให้เขาฟัง ชวนเขาสวดมนต์พร้อมกับเราหรือสวดมนต์ให้เขาฟัง ชวนเขาสวดมนต์พร้อมกับเราหรือสวดมนต์ให้เขาฟัง จะชวนเขาทำสมาธิด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้า-ออก โดยบริกรรมว่า พุท-โธ ด้วยก็ได้
       หากผู้ป่วยอาการทรุดหนักจนมาถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ลูกหลานญาติมิตรควรน้อมใจให้เขานึกถึงสิ่งศักดิสิทธิ์หรือสิ่งดีงามที่เขานับถือพูดถึงความรักและความภาคภูมิใจที่เรามีต่อเขา ชวนเขาย้อนระลึกถึงความดีที่เขาเคยทำ ให้ความมั่นใจแก่เขาว่าทุกคนที่อยู่ข้างหลังจะอยู่ได้แม้ไม่มีเขา รวมทั้งแนะนำให้เขาปล่อยวางสิ่งทั้งปวง รวมทั้งสังขารร่างกายนี้
       มีผู้ป่วยอาการโคม่าหลายคนถึงกับพนมมือเมื่อได้ยินเรื่องการทำบุญใส่บาตร บางคนหายกระสับกระส่าย มีอาการนิ่งสงบ แต่ถึงแม้เขาจะไม่แสดงอาการตอบสนองใด ๆ ก็มิได้พึงคิดว่าเขาไม่รับรู้ ในยามนั้นเขาอาจมีปีติ อิ่มเอิบ ปล่องวาง และพร้อมจะจากไปได้
      การปฏิบัติกับผู้ป่วยโคม่าด้วยการมอบสิ่งดีที่สุดทางจิตใจให้แก่เขานอกจากจะดีกับผู้ป่วยแล้ว ยังดีต่อผู้ปฏิบัติด้วยเพราะช่วยให้ใจสงบ เป็นบุญ และคลายจากความเศร้าโศกเสียใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งลูกหลานหรือญาติมิตรก็ได้รับการเยียวยาทางจิตใจด้วย

9/18/10

จิตขณะแรกในชีวิต

  เนื่องด้วยพักนี้จะสนใจในเรื่องการปฏิสนธิจิตมาก ๆ
แล้วก็เรื่องกฏแห่งกรรม ทำกรรมใดจะไปเกิดในภพภูมิใด
ขณะสุดท้ายของชีวิตคิดดีจะไปเกิดในภพภูมิดี ก็พอดีไปเจอ
บทความจิตขณะแรกในชีวิตเลยคัดลอกมาให้ได้อ่านกันค่ะ
ที่มาบทความ :  http://buddhiststudy.tripod.com/ch10.htm
รั้งแล้วครั้งเล่าที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง 6 เป็นจิตเห็นบ้าง   จิตได้ยินบ้าง   จิตที่พอใจในสิ่งที่เห็นหรือได้ยินบ้าง   จิตเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยต่างๆ   เราอาจสงสัยว่าจิตเหล่านี้มีหน้าที่ต่างกันหรือไม่   จิตเห็นและจิตที่พอใจในรูปารมณ์นั้นเกิดไม่พร้อมกัน   จิตสองดวงนี้ต่างกันและทำกิจต่างกัน   เราจะเข้าใจจิตดีถ้าเรารู้ลำดับการเกิดของจิตและรู้กิจของจิต    จิตเกิดขึ้นโดยไม่ทำกิจไม่ได้ จิตแต่ละดวงต่างทำ กิจ ของตน   กิจของจิตทั้งหมดมี 14 กิจ
จิตที่เกิดขณะแรกในชีวิตก็ต้องทำกิจด้วย    การเกิดคืออะไร  และ อะไร   ล่ะเกิด    เราพูดเรื่องเด็กเกิด แต่ความจริงแล้วมีแต่ นามธรรมและรูปธรรม เท่านั้นเกิด  คำว่า "เกิด" เป็นบัญญัติ   เราควรพิจารณาว่าการเกิดจริงๆนั้นเป็นอย่างไร   นามธรรมและรูปธรรมเกิดดับทุกขณะ   ฉะนั้น   การเกิดและการตายของนามรูปก็มีทุกขณะ    เพื่อจะได้เข้าใจว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิด   เราควรรู้ปัจจัยที่ทำให้นามรูปเกิดขึ้นในขณะแรกของชาติหนึ่งๆ
ในชีวิตของเราอะไรเกิดก่อน   นามหรือรูป?   ทุกๆขณะในชีวิตของเราต้องมีทั้งนามและรูป   ในภูมิที่มีขันธ์ 5 (นามขันธ์ 4 และรูปขันธ์ 1)    นามธรรมเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีรูป   จิตเกิดไม่ได้ถ้าไม่อาศัยรูป    ขณะหนึ่งๆในชีวิตเป็นจริงอย่างไร   ขณะแรกของชีวิตก็ต้องเป็นจริงอย่างนั้นด้วย   ในขณะแรกของชีวิตนั้น   นามและรูปต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน   จิตที่เกิดขณะแรกนั้นเรียกว่า ปฏิสนธิจิต    เมื่อไม่มีจิตดวงใดเกิดได้โดยไม่อาศัยปัจจัย   ปฏิสนธิจิตก็ต้องเกิดเพราะปัจจัยด้วย   ปฏิสนธิจิตเป็นจิตขณะแรกในชาติหนึ่งๆ   เพราะฉะนั้นจึงต้องมีเหตุในอดีตเป็นปัจจัยด้วย    บางคนอาจสงสัยเรื่องชาติก่อนๆ   แต่คนเราจะต่างกันอย่างไรได้ถ้าไม่มีชาติก่อนๆ   เราเห็นได้ว่าคนเราเกิดมาต่างกันตามการสะสม
เราจะบอกอุปนิสัยของเด็กโดยดูจากพ่อแม่ได้ไหม   ที่เราใช้คำว่า "อุปนิสัย" นั้น  ความจริงก็คือ  นามธรรม    พ่อแม่จะส่งนามธรรมซึ่งเกิดแล้วดับไปทันทีนั้นให้กับอีกคนหนึ่งได้หรือ?   จะต้องมีเหตุปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เด็กมีอุปนิสัยอย่างนั้น   จิตเกิดดับสืบต่อกัน   ฉะนั้นจิตทุกดวงจึงเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น    จิตขณะแรกของชาตินี้เกิดต่อจากจิตขณะสุดท้ายของชาติก่อน (จุติจิต)   ด้วยเหตุนี้เอง   อุปนิสัยในอดีตจึงสืบต่อมาโดยสะสมในจิตดวงหนึ่งสู่จิตดวงต่อไปและจากชาติก่อนสู่ชาตินี้
เพราะเหตุที่ว่าเราทุกคนสะสมอุปนิสัยต่างๆกันในชาติก่อนๆ   ทุกคนจึงเกิดมามีจริตอัธยาศัยต่างๆกัน
คนเรามิได้เกิดมามีอุปนิสัยต่างกันเท่านั้น   แต่ยังเกิดในสิ่งแวดล้อมต่างกันอีกด้วย   บางคนเกิดในสิ่งแวดล้อมที่สุขสบาย   บางคนเกิดในสิ่งแวดล้อมที่ทุกข์ยาก    การที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้นั้น   เราต้องไม่ติดคำสมมุติบัญญัติว่า   "บุคคล"  หรือ  "สิ่งแวดล้อม"    ถ้าเราพิจารณาโดยปรมัตถธรรมก็จะเห็นว่า การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สุขสบายหรือทุกข์ยากนั้นก็ไม่ใช่อะไรอื่นเลยนอกจากการรู้อารมณ์ที่ดีบ้าง   ไม่ดีบ้าง  ทางตา  หู  จมูก   ลิ้น  กาย  เป็น กุศลวิบาก   หรือ อกุศลวิบาก   นั่นเอง    วิบากจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุปัจจัยไม่ได้   วิบากเป็นผลของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม   ทุกคนทำกรรมต่างกันจึงได้รับผลต่างกัน   การที่คนเราเกิดในสิ่งแวดล้อมต่างกันนั้นต้องมีเหตุคือ   กรรมในชาติก่อนเป็นปัจจัย   กรรมทำให้เกิด ปฏิสนธิจิต เป็น วิบาก คือ  เป็น ผลของกรรม
ในโลกนี้เราเห็นมนุษย์และสัตว์เกิดมาต่างๆกัน   เมื่อเปรียบเทียบชีวิตของสัตว์และชีวิตของมนุษย์   จะเห็นว่าการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานนั้นเป็นทุกข์   เป็นอกุศลวิบาก    การเกิดเป็นมนุษย์เป็นกุศลวิบาก   แม้ว่าจะเกิดเป็นคนยากจนหรือต้องประสบความทุกข์ยากต่างๆนานาตลอดชีวิต   ปฏิสนธิจิตของแต่ละคนเป็นกุศลวิบากต่างระดับ   เพราะกุศลกรรมซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากนั้นมีหลายระดับ
ในขณะแรกของชีวิต   กรรมเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตและรูปเกิดขึ้นพร้อมกัน   บางคนอาจสงสัยว่าอะไรทำให้รูปเกิดในขณะแรกของชีวิต    เราเห็นแต่ละคนมีรูปร่างหน้าตาต่างกัน   บางคนแข็งแรง  บางคนอ่อนแอ   บางคนก็พิการแต่กำเนิด    ต้องมีเหตุที่ทำให้เป็นอย่างนั้น   กรรมนั่นเองที่เป็นปัจจัยให้นามและรูปเกิดขึ้น
กรรมทำให้รูปที่ไม่ใช่ร่างกาย   และรูปที่เป็น  "พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ" เกิดได้ไหม?   พืชไม่ได้ "เกิด" เพราะพืชทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมไม่ได้   พืชไม่มีกรรมเป็นปัจจัยให้เกิด   อุตุ (อุณหภูมิ) เป็นปัจจัยให้เกิดพืช    สำหรับมนุษย์นั้น  กรรมเป็นปัจจัยให้รูปเกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต   ถ้ากรรมไม่ทำให้นามและรูปเกิดตั้งแต่ปฏิสนธิขณะ   ก็ไม่มีชีวิต  อุตุ ก็เป็นปัจจัยให้รูปเกิด   ถ้าอุณหภูมิไม่เหมาะสม   ชีวิตที่เกิดมานั้นก็เจริญเติบโตไม่ได้   ทันทีที่ปฏิสนธิจิตดับไป จิต ดวงต่อไปก็เกิดขึ้น   และเริ่มเป็นปัจจัยให้เกิดรูป    นอกจากนั้น อาหาร ก็ทำให้รูปเกิดด้วย ร่างกายจึงเจริญเติบโตได้    ดังนั้นจะเห็นว่า   นอกจากกรรมแล้วก็มีปัจจัยอื่นๆอีกที่ทำให้รูปเกิด   คือ  จิต  อุตุ  และ อาหาร
กรรมเป็นปัจจัยให้รูปเกิดไม่เฉพาะในขณะปฏิสนธิเท่านั้นแต่ตลอดชีวิตทีเดียว   กรรมไม่แต่จะเป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ดีบ้าง   ไม่ดีบ้างทางทวารต่างๆเท่านั้น   แต่ยังเป็นปัจจัยให้เกิดรูปซึ่งทำกิจเป็นทวารรับอารมณ์ต่างๆตลอดชีวิต   มีใครสร้างจักขุปสาทของตนเองได้บ้างไหม?    อุตุก็ทำให้จักขุปสาทเกิดไม่ได้   กรรมเท่านั้นที่ทำได้   การเปลี่ยนดวงตาใหม่จะไม่เป็นผลเลยถ้ากรรมไม่ทำให้จักขุปสาทของผู้รับดวงตาเกิดขึ้น
ครรภ์มารดาก็มิใช่เป็นที่เกิดที่เดียวเท่านั้น   จากคำสอนของพระผู้มีพระภาค   เรารู้ว่าการเกิดมี 4 อย่าง คือ   เกิดในครรภ์ 1   เกิดในไข่ 1    เกิดในที่ชื้น 1 และเกิดเป็นโอปปาติกะ 1
บางคนอยากรู้ว่าชีวิตในครรภ์มารดานั้นเริ่มต้น เมื่อใด    ชีวิตเริ่มต้นขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดพร้อมกับ
กัมมชรูป   ชีวิตสิ้นสุดลงเมื่อจิตดวงสุดท้าย (จุติจิต) ดับ    ตราบใดที่จุติจิตยังไม่ดับ   ชีวิตก็ยังดำรงอยู่   ไม่มีใครรู้ขณะที่จุติจิตของผู้อื่นเกิดขึ้นและดับไป   นอกจากผู้ที่ได้เจโตปริยญาณ    พระผู้มีพระภาคและผู้ที่ได้เจโตปริยญาณสามารถรู้ขณะจุติของผู้อื่นได้
เราอาจสงสัยว่ากรรมใดในชีวิตของเราจะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดชาติหน้า    บางคนเชื่อว่าชาตินี้ทำกุศลมากๆชาติหน้าก็ต้องเกิดดีแน่   แต่กรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมในชาตินี้    ในอดีตชาติ   เราก็ได้ทำอกุศลกรรมและกุศลกรรมมาแล้วเช่นเดียวกับในชาตินี้ซึ่งเป็นกรรมหนักเบาต่างๆ    กรรมบางอย่างก็ให้ผลในชาติที่ทำกรรมนั้น กรรมบางอย่างก็ให้ผลโดยทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดในชาติหน้าหรือในชาติต่อๆไป   เราได้ทำกรรมต่างๆในอดีตชาติซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดอีก   แต่กรรมเหล่านั้นยังไม่สุกงอมที่จะให้ผล   เราไม่รู้ว่ากรรมใดจะเป็นปัจจัยให้เกิดชาติหน้า
ถ้าอกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้ (ปฏิสนธิ) เกิด  ชาติหน้าก็เป็นทุคติ   ซึ่งจิตที่จะเกิดก่อนจุติจิตเป็นอกุศลจิตที่มีอนิฏฐารมณ์โดยกรรมเป็นปัจจัย    ปฏิสนธิจิตของชาติหน้าซึ่งเกิดต่อจากจุติจิตนั้นมีอนิฏฐารมณ์เดียวกับอกุศลจิตก่อนจุติจิต   ถ้ากุศลกรรมเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิเกิด   ชาติหน้าเป็นสุคติ   ซึ่งกุศลจิตจะเกิดก่อนจุติจิตและมีอิฏฐารมณ์โดยกรรมเป็นปัจจัย    ปฏิสนธิจิตของชาติหน้ามีอิฏฐารมณ์เดียวกับกุศลจิตก่อนจุติ
บางคนอยากรู้ว่า   เขาจะทำให้ชาติหน้าเป็นสุคติโดยบังคับจิตที่เกิดก่อนจุติจิตให้เป็นกุศลได้ไหม   บางคนก็นิมนต์พระมาสวดเพื่อให้ผู้ที่กำลังจะตายเกิดกุศลจิต    อย่างไรก็ตาม   ไม่มีใครรู้แน่ว่าผู้นั้นจะเกิดในสุคติ   นอกเสียจากว่าผู้นั้นเป็นพระอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว    ไม่มีใครบังคับจิตได้ เราบังคับความคิดของเราขณะนี้ได้ไหม   เมื่อบังคับไม่ได้   เราจะบังคับความคิดก่อนตายได้อย่างไร   ไม่มีตัวตนที่ตัดสินให้ชาติหน้าเกิดที่ไหนได้   แม้ว่าจะได้ทำกรรมดีมามาก   ก็อาจมีอกุศลกรรมในชาติก่อนๆเป็นปัจจัยให้เกิดในทุคติภูมิในชาติต่อไปได้   เมื่ออกุศลจิตหรือกุศลจิตขณะสุดท้ายดับไปแล้ว   จุติจิตก็เกิดแล้วดับไป    แล้วปฏิสนธิจิตของชาติต่อไปก็เกิดสืบต่อเริ่มเป็นชาติใหม่ทันที   ตราบใดที่ยังมีกรรม   ตราบนั้นก็ยังมีชาติต่อๆไปอีก
เพราะเหตุที่ปฏิสนธิจิตทำกิจเกิดขึ้นเป็นขณะแรกในภพใหม่   ชาติหนึ่งๆจึงมีปฏิสนธิจิตเพียงดวงเดียวเท่านั้น   ไม่มีตัวตนที่ย้ายจากชาติหนึ่งไปสู่อีกชาติหนึ่ง   มีแต่นามธรรมและรูปธรรมเท่านั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป   ชาตินี้ต่างจากชาติก่อน   แต่สืบเนื่องกันโดยชาติก่อนเป็นปัจจัยให้ชาตินี้เกิดขึ้น    เพราะเหตุที่ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน อุปนิสัยที่สะสมมาในชาติก่อนๆจึงสืบต่อในปฏิสนธิจิต   ฉะนั้น   อุปนิสัยความโน้มเอียงต่างๆในชาตินี้จึงมีชาติก่อนๆเป็นปัจจัย
เราอาจจะดีใจที่ได้เกิดมาถ้าไม่รู้ว่าการเกิดเป็นผลของกรรม   ทั้งยังจะต้องเกิดต้องตายอีกตราบเท่าที่ยังมีกรรม   การไม่เห็นภัยของการเกิดนั้นเป็นอวิชชา ขณะนี้เราอยู่ในโลกมนุษย์   แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่ง   ก็ไม่แน่ว่าเราจะไม่เกิดในทุคติภูมิในชาติต่อๆไป   เราได้ทำทั้งอกุศลกรรมและกุศลกรรมในอดีตอนันตชาติ    ใครจะรู้ได้ว่ากรรมใดจะทำให้เกิดปฏิสนธิจิตในชาติต่อไปแม้ว่าเราจะทำกุศลอยู่เนืองๆ    บางคนคิดว่าการเกิดในสวรรค์นั้นเป็นที่น่าปราถนา   แต่เขาหารู้ไม่ว่าชีวิตในสวรรค์นั้นไม่ยั่งยืน   เมื่อชีวิตในสวรรค์สิ้นสุดลง   อกุศลกรรมที่ได้ทำมาแล้วนั้นอาจเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดในทุคติภูมิได้
ในมัชฌิมนิกาย  อุปริปัณณาสก์   สุญญตวรรค
พาลบัณฑิตสูตร   ข้อความมีว่า   สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับ   ณ  พระวิหารเชตวัน   อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี    พระองค์ตรัสกะพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายถึงความทุกข์ทรมานในนรก   ความทุกข์ในเดรัจฉานภูมิว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย   เรากล่าวเรื่องกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน   แม้โดยเอนกปริยายแล   เพียงเท่านี้   จะกล่าวให้ถึงกระทั่งกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานเป็นทุกข์   ไม่ใช่ทำได้โดยง่ายๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย   เปรียบเหมือนบุรุษโยนทุ่นมีบ่วงตาเดียวไปในมหาสมุทร   ทุ่นนั้นถูกลมตะวันออกพัดไปทางทิศตะวันตก     ถูกลมตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก   ถูกลมเหนือพัดไปทางทิศใต้   ถูกลมใต้พัดไปทางทิศเหนือ    มีเต่าตาบอดอยู่ในมหาสมุทรนั้น   ล่วงไปร้อยปีจึงจะผุดขึ้นครั้งหนึ่ง    ดูกรภิกษุทั้งหลาย   พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน    เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้บ้างไหมหนอ"
"ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย   พระพุทธเจ้าข้า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ถ้าจะเป็นไปได้บ้างในบางครั้งบางคราว   ก็โดยล่วงระยะกาลนานแน่นอนฯ"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย   เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้ยังจะเร็วกว่า   เรากล่าวความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวหนึ่งแล้วจะพึงได้   ยังยากกว่านี้   นั่นเพราะเหตุไร   ดูกรภิกษุทั้งหลาย   เพราะในตัวคนพาลนี้ไม่มีความประพฤติธรรม   ความประพฤติสงบ  การทำกุศล   การทำบุญ  มีแต่การกินกันเอง   การเบียดเบียนคนอ่อนแอฯ    ดูกรภิกษุทั้งหลาย   คนพาลนั้นนั่นแล   ถ้าจะมาสู่ความเป็นมนุษย์ในบางครั้งบางคราวไม่ว่ากาลไหนๆ   โดยล่วงระยะกาลนาน   ก็ย่อมเกิดในสกุลตํ่า  คือ   สกุลคนจัณฑาล หรือสกุลพรานล่าเนื้อ   หรือสกุลคนจักสาน   หรือสกุลช่างรถ   หรือสกุลคนเทขยะ   เห็นปานนั้นในบั้นปลาย   อันเป็นสกุลคนจน   มีข้าวนํ้าและโภชนาหารน้อย   มีชีวิตเป็นไปลำบาก   ซึ่งเป็นสกุลที่จะได้ของกินและเครื่องนุ่งห่มโดยฝืดเคือง   และเขาจะมีผิวพรรณทราม   น่าเกลียดชัง  ร่างม่อต้อ มีโรคมาก  เป็นคนตาบอดบ้าง   เป็นคนง่อยบ้าง   เป็นคนกระจอกบ้าง   เป็นคนเปลี้ยบ้าง   ไม่ได้ข้าว  นํ้า  ผ้า  ยาน   ดอกไม้  ของหอม   เครื่องลูบไล้  ที่นอน
ที่อยู่อาศัย   และเครื่องตามประทีป   เขาจะประพฤติกายทุจริต   วจีทุจริต  มโนทุจริต   ครั้นแล้วเมื่อตายไป   จะเข้าถึงอบาย  ทุคติ   วินิบาต  นรกฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย   นี้ภูมิของคนพาลครบถ้วนบริบูรณ์"
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโทษของการเกิดโดยนานาประการ    พระองค์ตรัสว่า   การเกิดเป็นทุกข์ซึ่งติดตามด้วย   ชรา  พยาธิ  และมรณะ    พระองค์ทรงแสดงความปฏิกูลของร่างกาย   และทรงเตือนว่า   ขณะนี้เองร่างกายก็เป็นทุกข์   ไม่เที่ยง  และไม่ใช่ตัวตน   ถ้าเรายังคงยึดถือจิตและร่างกายว่า   เป็นตัวตน    สังสารวัฏฏ์ของการเกิดการตายก็ไม่มีวันสิ้นสุด
ในสังยุตตนิกาย  นิทานวรรค   อนมตัคคสังยุตต์  ปฐมวรรคที่ 1  ปุคคลสูตร   มีข้อความว่า   สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ   เขตพระนครราชคฤห์   พระองค์ตรัสกะพระภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย   สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ
เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัปป์หนึ่ง   พึงมีโครงกระดูก  ร่างกระดูก กองกระดูก   ใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้    ถ้ากองกระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้   และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้วก็ไม่พึงหมดไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร   เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้   ฯลฯ   พอเพื่อจะหลุดพ้น   ดังนี้ฯ"
พระผู้มีพระภาค  ผู้สุคตศาสดา   ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว   จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
"เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่   ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
กระดูกของบุคคลหนึ่งที่สะสมไว้กัปป์หนึ่ง
พึงเป็นกองเท่าภูเขา   ก็ภูเขาที่เรากล่าวนั้น
คือภูเขาใหญ่ชื่อเวปุลละ   อยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ
ใกล้เมืองราชคฤห์   อันมีภูเขาล้อมรอบ
เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจจ์   คือทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์   ความล่วงพ้นทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ 8   อันยังสัตว์
ให้ถึงความสงบทุกข์ด้วยปัญญาอันชอบ
เมื่อนั้นเขาท่องเที่ยว 7 ครั้งเป็นอย่างมาก
ก็เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้
เพราะสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง   ดังนี้แลฯ"
เป็นบุญแล้วที่เกิดเป็นมนุษย์   เพราะเราจะเจริญอบรมปัญญาได้   เมื่อบรรลุอริยสัจจธรรมขั้นแรก (ขั้นโสดาบัน)   ประจักษ์แจ้งอริยสัจจ์ 4 แล้ว   จะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ   และจะรู้แน่ว่าในที่สุดก็จะพ้นจากการเกิด

9/17/10

นิพพานนอกวัด(ตอน2)

ที่มาหนังสือ: นิพพานนอกวัด/ผู้แต่ง:พระอาจารย์วิเชียร วชิรปัญโญ
Tyrol,_Austria_-_Misty_Mountain_Village ต่อจากตอนที่แล้วค่ะ
              หากเรามีสติกำหนดรู้ทุกขณะแห่งความคิดหรือจิตเรา และมี
สติสัมปชัญญะรู้ตัวเองตื่นตัวเองอยู่เสมอ เรานั้นย่อมรู้เท่าทันอย่างไม่
ต้องอาศัย ปัจจัยมาจากภายนอกเพียงเราตื่นตัวรู้เองอยู่ตลอด นั้นแหละ
คือการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง เพียงแต่ว่าเมื่อเรารู้แล้วว่าเราเกิดอารมณื
ทั้งดีและไม่ดีขึ้นมา เรากล้าที่จะปล่อยวางกับอารมณ์เหล่านั้นขนาดไหน
เพราะบางคนก็รู้ทั้งรู้ว่าอารมณ์ไม่ดี อารมณ์กำลังขุ่นมัว ก็อดไม่ได้ทนไม่ไหว
ก็เกิดการทะเลาะโต้เถียงกันไป
     เมื่อเรารู้แล้วว่า อารมณ์นั้นไม่ดีทั้ง 2ฝ่าย เราก็ควรเพียงรู้และเห็นโทษ
ของอารมณ์ทั้งคู่ ว่าเป็นอย่างไรเมื่อเราไหลไปตามอารมณ์นั้น สุดท้าย
เราเองก็ต้องทุกข์เมื่อเรารู้แล้วว่า หากเราปล่อยจิตให้ตามอารมณ์นั้นไป
ผลสุดท้ายที่เราจะได้รับก็คือความทุกข์ อารมณ์ดีเกิดขึ้น ก็อยากให้อารมณ์
นั้นอยู่กับเรานาน ๆ พยายามรักษาอารมณ์แห่งความสุขและพอใจนั้นให้อยู่
กับตนเองให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ แต่สุดท้ายก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป
จากอารมณ์ดี เปลี่ยนมาเป็นอารมณ์ไม่ดี เพราะต้องหลุดจากจิตที่มีอารมณ์ดี
ครอบงำ มาเป็นจิตที่อารมณ์ไม่ดีมาครอบงำไว้แทน
     การนั่งสมาธิก็เป็นเพียงการฝึกให้เรามีสติเท่านั้น แต่ไม่สามารถที่จะฝึกให้เรา
เราเจริญด้วยปัญญาได้ อย่างที่กล่าวไว้ว่า ก็รู้ทั้งรู้ว่าไม่ดี รู้ตื่นตัวอยู่เสมอว่า
สิ่งนั้นมันไม่ดี แต่ก็อยากจะทำในสิ่งนั้น ก็เลยกระทำสิ่งนั้นลงไป เพราะขาดปัญญา
มาคอยยับยั้งหาเหตุและผล ให้เราละและวางอารมณ์นั้นให้ได้ ดังนั้นคราวใดที่ใจ
เราถูกกระทบจากสภาพอารมณ์ภายนอก หน้าที่ของเราก็คือตามดูตามรู้ กำหนด
รู้ให้เห็นว่าอารมณ์เราเป็นเช่นไร เมื่อเรารู้ว่าเป็นเช่นไรแล้วเราก็วางสิ่งนั้นเสีย
เราก็หลุดพ้นไปได้โดยอัตโนมัติ
     จึงได้เห็นว่า ถึงแม้เราจะไม่มีเวลามานั่งสมาธิเดินจงกรม หรือเข้าวัดฟังเทศน์ก็
ตาม แต่เราก็สามารถที่จะสร้างพระนิพพานให้เกิดกับตัวเราได้ โดยที่ไม่ต้องมีรูป
แบบที่ลำบากอย่างนั้น ขอเพียงให้เรามีจิตที่รู้ว่าในขณะที่กายเราถูกกระทบ
แล้วจิตรู้สึกเช่นไร แล้วก็นำปัญญามาแก้ไขและวางอารมณ์นั้นให้ได้เร็วที่สุด
ไม่ว่าอารมณ์ดีหรือไม่ก็ตาม เมื่อเรารู้แล้วต้องวางอารมณ์ให้เขาอยู่ในส่วนของเขาไป
ไม่ต้องนำอารมณ์นั้นมาเข้าฝังในจิตของเรา ปล่อยจิตของเราให้อยู่อย่างเอกเทศ
โดยมีความนิ่งและว่างอย่างเดียว อารมณ์ความสุขเกิดขึ้นรู้อยู่แต่ไม่ไปตาม
อารมณ์ทุกข์เกิดขึ้นรู้อยู่แล้วก็หาวิธีแก้ไขคลายความทุกนั้นให้ได้ไป แล้วก็วาง
ให้เขาอยู่อย่างอิสระ
     การกระทำเช่นนี้ กล่าวแล้วรู้สึกว่าง่าย แต่เวลาลงมือทำรู้สึกว่ายากการที่จะปล่อย
และละอารมณ์ในแต่ละอย่างไม่ใช่ของง่าย อารมณ์แห่งความทุกข์ก็พอหาทางออก
ให้ได้ แต่อารมณ์แห่งความสุข ที่ไม่ต้องให้เก็บไว้นี้น่าจะวางยากอยู่ไม่น้อย แต่ให้
เราทั้งหลายพึงรู้ได้เลยว่า ตราบใดที่จิตของเรายังมีความรู้สึกว่ามีความสุขในอารมณ์
อยู่ แล้วต้อไปเราก็ต้องมีทุกข์ในอารมณ์เช่นเดียวกัน เรียกว่า สุขอยู่ที่ไหน ทุกข์ก็
อยู่ที่นั้นตามกันมาเหมือนกับเงาตามตัว เหมือนกับหน้ามือและหลังมือ ก็มาจากมือ
ข้างเดียวนี้เอง หากเราคว่ำมือหลังมือก็เกิดขึ้น แต่ถ้าเราหงายมือขึ้น ฝ่ามือก็ปรากฏ
อยู่อย่างนั้น ทำให้เราเห็นว่าเราควรที่จะวางใจของเราให้พ้นไปเสียจากสิ่งทั้งสองนี้
1192388720 จบแล้วค่ะ จริง ๆแล้วหนังสือเล่มนี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่น่าอ่านนะคะ
ถ้ามีโอกาสลองไปหาอ่านกันดูค่ะ
ช่วงนี้อาจจะอัพบล็อคช้าไปนิดเนื่องจากอิทธิฤทธิ์เจ้าตัวน้อยในท้อง
ทำให้ไม่ค่อยมีแรงเลย แต่สัญญาจะมาเขียนสม่ำเสมอแน่นอนค่ะ

9/13/10

นิพพานนอกวัด (ตอน1)

ที่มาหนังสือ: นิพพานนอกวัด/ผู้แต่ง:พระอาจารย์วิเชียร วชิรปัญโญ
       วันนี้มีหนังสือมาแนะนำอีกเช่นเคย คิดว่าสำหรับผู้ที่ยังทำงาน มีครอบครัวที่
ยังต้องดูแล ก็สามารถรักษาจิตใจหรือบวชใจอยู่ที่บ้านได้ อ่านแล้วเป็นอะไรที่
รู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมมันไม่ได้ยุ่งยาก ต้องเข้าไปนั่งสมาธิหรือสวดมนต์
ที่วัดอย่างเดียวสามารถทำได้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ได้เพราะเราทำมาจากใจ
จะยกตัวอย่างการปฏิบัติอยู่ที่บ้านตามในหนังสือมาให้อ่านกันสักหนึ่งเรื่องค่ะ
 icon_mini1137
ไม่ได้นั่งสมาธิเดินจงกรมแล้วจะไปนิพพานได้หรือไม่
     รูปแบบแห่งการปฏิบัติเพื่อดำเนินไปสู่จุดแห่งการหมดจากกรรมนั้น
ไม่จำเป็นต้องอาศัยรูปแบบมากนัก เพราะในสมัยนี้คนเราก็จะยึดติด
ยึดถือกับรูปแบบของผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องสวดมนต์ นั่งสมาธิและเดิน
จงกรม อยู่เป็นกิจประจำทุกวัน เรียกว่าทำเป็นกิจของตน บางคนก็ทำ
ตามหน้าที่ บางคนทำเพราะถูกบังคับ เช่นกลัวว่าหากไม่สวดมนต์แล้ว
เดี๋ยวบารมีจะไม่เต็ม ไม่นั่งสมาธิแล้วจิตจะไม่สงบ นี้คือรูปแบบที่เราได้
เห็นกันชัดเจน และเป็นตัวแบ่งให้ผู้ที่ปฏิบัติตามที่กิจวางไว้สมบูรณ์มีใจ
ที่มุ่งหวังได้
     แต่สำหรับท่านที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตรงนี้ให้สมบูรณ์ได้ ก็จะมา
กล่าวโทษตนเองและกดตนเองให้ต่ำลง บางท่านก็อ้างว่าไม่มีเวลา
ที่จะสวดมนต์ ไม่มีเวลาที่จะนั่งสมาธิ ไม่มีเวลาเดินจงกรม เราก็คง
ไปสู่นิพพานไม่ได้ กำลังใจก็พลอยหมดถดถอยลงไป ก็ไปกล่าวโทษว่า
เราคงไม่มีบุญวาสนาที่จะได้ปฏิบัติ เรามีกรรมมากก็เลยทำความดีได้
ลำบาก บางท่านมีสามีภรรยา สามีบางท่านชอบการปฏิบัติสวดมนต์
ไหว้พระ แต่ภรรยาไม่ชอบการปฏิบัติสวดมนต์ไหว้พระ
     ก็เลยรู้สึกว่าจะมีการขัดกันในความรู้สึกของผู้ที่จะปฏิบัติ เช่นบางวัน
สามีเอาแต่สวดมนต์ ภรรยาก็เอาแต่ดูละคร ไม่สนใจในการปฏิบัติ
หรือบางท่านอาจจะหนักถึงขนาดทำประชดประชันกัน บางท่านก็ว่า
ถ้าชอบปฏิบัติธรรมนัก ก็ไปบวชเสียเถอะ หรือภรรยาบางท่านสามีก็จะ
พูดในเชิงประชดประชันว่า แล้วเมื่อไหร่แม่ชีจะไปวัด เรียกว่ามีการ
ขัดขวางในการทำความดี บางท่านก็เลยท้อใจว่าตนเองก็หมั่นทำความ
ดีและปฏิบัติตามระเบียบแล้ว แต่ทำไมคนใกล้ตัวถึงกลับมีอคติกับเราด้วย
     บางท่านก็เลยเลิกการปฏิบัติ เพราะไม่สามารถที่จะปรับสภาพเข้ากับ
สถานะความเป็นอยู่ปัจจุบัน ดังที่เราจะได้ยินผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
กล่าวว่า โลกกับธรรมนั้น ไม่สามารถที่จะไปด้วยกันได้ เราต้องเลือก
อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเราจะไปสู่ธรรม เราต้องละความเป็นโลก เรา
ถึงจะไปในทางธรรมได้ ต้องละจากการเป็นอยู่อย่างโลก ต้องเลิก
การพบปะสังสรรค์ ต้องเลิกการมีครอบครัว ต้องเลิกการดำเนินกิจการ
ฝ่ายของโลกให้หมด เรียกว่าต้องกำจัดบ่วงทางโลกให้หมดเสียก่อน
ต้องสละสิ่งนั่นสิ่งนี้ให้ตนเองเป็นผู้ไม่มีภาระทางโลกแล้ว เราก็จะไป
สู่นิพพานได้ง่าย
     ความเข้าใจเช่นนี้ ย่อมมีมาทุกยุคทุกสมัย แม้แต่ในสมัยปัจจุบัน
นี้ก็ตาม เพราะว่าคนเราทั้งหลายไปติดในรูปแบบแห่งกายมากเกินไป
จะทำอะไรก็กลัวศีลจะขาด กลัวจะเป็นบาป กลัวจะไปนิพพานไม่ได้
หากศีลเราไม่ครบ บางคนก็เลยไม่กล้าที่จะเดินตามทางมรรคผลนิพพาน
ได้ เพราะไม่สามารถที่จะรักษาศีลให้ครบอยู่ได้ เมื่อศีลไม่ครบไม่บริสุทธิ์
การไปนิพพานนั้นเป็นไปไม่ได้แน่นอน นี้คือความหลงผิดและเข้าในฝ่าย
ที่เป็นความเข้าใจตามตำราและการว่ากล่าวสืบทอดต่อๆกันมา
     การเข้าใจที่ถูกต้องตามแบบแห่งการเข้าถึงซึ่งหนทางแห่งอริยชน
นั้นดังที่กล่าวมาแล้วว่าต้องสละและละกิเลสเครื่องมัวเมาทั้ง 3 ข้อให้ได้
ซึ่งในคุณธรรม 3 ข้อนั่น ท่านก็ไม่ได้กล่าวว่าเราจะต้องรักษาศีลของเรา
ให้สมบูรณ์บริสุทธิ์ หรือท่านก็ไม่บอกว่าเราต้องนั่งสมาธิทุกวัน เราต้อง
สวดมนต์ทุกวันหรือเราต้องเดินจงกรมให้ครบเป็นประจำทุกวัน เรียกว่า
ท่านก็ไม่ได้กล่าวว่าเราต้องประกอบกิจเหล่านี้ให้ครบสมบูรณ์ถึงจะไปสู่
นิพพานได้
     หรือท่านก็ไม่ได้กล่าวว่า หากเธอจะไปสู่อริยชน เบื้องต้นนั้น เธอ
ต้องบวชเป็นพระสงฆ์เป็นภิกษุณี หรือจะต้องมาอยู่วัดถึงจะได้ไป ในการ
ละกิเลสทั้ง 3 ข้อนั้น ท่านกล่าวเพียงให้เราทั้งหลาย ฝึกลดละความยึดติด
ยึดถือในเรื่องของสภาวะจิตเท่านั้น เช่นการไม่ยึดติดในกายของตน
ไม่ลังเลสงสัยในความเป็นอริยชน และไม่ยึดติดในความดีที่เราได้กระทำ
ซึ่งในคุณธรรมทั้ง 3 ข้อจะเห็นได้ชัดว่าท่านเน้นให้เราปฏิบัติที่จิต
ของเรา ไม่ว่าเราจะกระทำสิ่งใดก็ตาม ให้เรามีสติและปัญญาตามดู
ตามรู้ความเป็นไปแห่งอารมณ์ของตนเอง
     คนเรานั้นหากสามารถที่จะยับยั้งอารมณ์ของตนได้ กายวาจาก็ไม่มี
ความสำคัญแต่อย่างใด เพราะเหตุว่าเราได้ไปดับต้นก่อให้เกิดกิเลส
ได้แล้ว เมื่อจิตเราหยุดกิเลสและทำลายความยึดติดในใจของเราแล้ว
การปฏิบัติทางกายก็ถือว่าเป็นเรื่องรองลงไป บางท่านเอาแต่นั่งสมาธิ
จิตก็แน่แน่วในอารมณ์แห่งความสงบในขณะที่นั่งสมาธิ มีความสงบ
เยือกเย็น สบายและมีความสุขมาก ๆ แต่พอออกจากนั่งสมาธิแล้วก็กลับ
มาสู่สภาวะเดิม ๆ จากที่ก่อนหน้านี้เป็นคนขี้โมโห ก็ยังคงโมโหเหมือนเดิม
     การปฏิบัติเช่นนี้ ถือว่าเป็นเหมือนเอาหินไปทับหญ้าเอาไว้ พอเรายก
หินออกมา เดี๋ยวหญ้าก็กลับมางอกงามเหมือนเดิม พอเวลามีความโกรธ
ความเห็นยึดถือในตัวตนว่าเป็นของเรา ก็จะมานั่งหลับตากำหนดสมาธิ
ถึงจะระงับอารมณ์ได้ คิดดูเถิดหากว่าเราจะเอาแต่นั่งสมาธิเพื่อระงับ
อารมณ์ของตน แล้วจะทันต่อเหตุการ์ณหรือไม่ จึงเห็นได้ว่า การนั่งสมาธิ
ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติแต่ไม่ใช่แนวทางทั้งหมด แนวทางที่จริง
ก็คือรู้ทันจิตของตนเอง ให้เรารู้เท่าทันจิตตนเอง แล้วเราจะควบคุมใจของ
เราได้ เมื่อเราคุมใจเราได้ ร่างกายและวาจาก็ไม่ใช่ปัจจัยหลักสำคัญอีกต่อไป
     เหมือนกับเราหิวข้าว อยากรับประทานอาหาร หากเราคิดและมั่นหมาย
เข้าใจแต่ว่าที่ ๆ เราจะรับประทานอาหารได้ ก็คือที่โรงครัวของบ้านเราเท่านั้น
ที่อื่นรับประทานไม่ได้ มันไม่ถูกที่ ประเภทอย่างนี้เราก็คงจะหิวข้าวตายก่อนที่
เราจะกลับมาถึงโรงครัวของบ้าน อาหารอยู่ริมทางมากมาย ส่วนอาหารก็มี
เยอะแยะ เวลาเราหิวแล้วเราก็เลี้ยวรถเข้าไปในร้านอาหารสั่งอาหารมา
รับประทาน เราก็คลายจากทุกข์เวทนา คือคลายจากความทุกข์ที่เป็นความหิว
เราก็รู้สึกอิ่มและมีกำลังวังชาในการที่จะประกอบการงานต่อไปได้
     แต่หากว่าเราคิดและเจาะจงแต่ว่า เราจะปฏิบัติธรรมได้เราต้องนั่งสมาธิ
สมาทานศีล นุ่งขาวห่มขาวเท่านั้นจึงจะปฏิบัติธรรมได้ ถึงจะไปนิพพานได้
คิดดูเถิดว่เราจะทันต่อกิเลสที่มันเกิดขึ้นมาหรือไม่ จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่
เราต้องมาปฏิบัติที่ใจของตน เมื่อมีสิ่งใดมากระทบกับจิตใจของเรา เราเองต้อง
รู้ให้ทันกับอารมณ์ของตนเอง และให้ละอารมณ์เหล่านั้นออกไป อารมณ์ทั้ง
ที่ดีและไม่ดี เขาย่อมวางไว้ในส่วนของเขานั่นเอง โดยที่จิตไม่ไปยึดเอา
     เรียกว่า เมื่อกิเลสหรืออารมณ์เกิดขึ้นคราวใดนั้นแหละคือหน้าที่ของผู้
ปฏิบัติ จะต้องดำเนินการเฝ้าดูอารมณ์ คราวนี้อารมณ์เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้
โดยไม่เลือกสถานที่วันเวลา ทำอย่างไรเราถึงจะไปตามให้ทันอารมณ์นั้น ๆ
เมื่อเขามาแบบไม่มีเวลาและสถานที่ เราเองก็ต้องเตรียมพร้อมโดยไม่เกี่ยง
สถานที่ วันเวลา เรียกว่าเกิดตรงไหนก็ดับตรงนั้น ยึดตรงไหนก็วางตรงนั้น
โดยไม่ต้องรอให้เราเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ต้องรอให้เรานั่งสมาธิกำหนดเสีย
ก่อน หากเรามัวแต่เตรียมตัวแต่งตัวนานเกินไป กิเลสอารมณ์ย่อมกินเราไป
เรียบร้อยแล้ว
uy179 ยังไม่จบนะคะแล้วเรามาต่อกันตอนที่2 ในคราวหน้าจ้ะ

9/9/10

ดวงเหนือดวงได้ อยู่ที่การกระทำกรรมดีจริง ๆ

ที่มาของบทความ: ธรรมะใกล้ตัว
หมอพีร์
มกราคม ๒๕๕๐

ดวงเหนือดวงได้ อยู่ที่การกระทำกรรมดีจริง ๆ
วันนี้มีลูกค้าเก่าโทรมานัด บอกว่าจะพาคุณยายมาดูดวง
พอถึงเวลาที่นัดไว้ซึ่งเป็นคิวแรกพอดี ก็เดินเข้ามาในห้อง
ดูหน้าตาแล้ว ไม่เหมือนเป็นคุณยายอย่างที่บอกไว้
เหมือนเป็นคุณแม่มากกว่าคุณยายอีก หน้าตายังดูไม่แก่ ผิวพรรณก็ยังไม่เหี่ยวมาก
สวัสดีทักทายเสร็จก็เชิญนั่ง ถาม วันที่ เดือน พ.ศ. ที่เกิด
พอได้เห็น พ.ศ. เกิด และคำนวณออกมา ต้องเรียกว่าคุณยายจริง ๆ
เพราะปีนี้อายุแปดสิบแล้ว ซึ่งก็ถือว่าอายุยืนมากสำหรับคนสมัยนี้
โดยปรกติลูกค้าที่มาดูดวงส่วนใหญ่ อายุไม่ค่อยจะเกินหกสิบเท่าไหร่
ถ้าวันไหนที่มีลูกค้าอายุขึ้นเลขแปดมาดู จะทำให้ฉันได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ
มาช่วยลูกค้าที่ยังอายุน้อย ๆ ว่าจะทำอย่างไร จึงจะผ่านดวงเคราะห์ร้ายต่าง ๆ ได้
โดยดวงคุณยายบอกอยู่แล้วว่า เป็นคนชอบทำบุญทำทาน
จึงทำให้ดวงเรื่องการเงินหายนะไม่เป็นไปตามดวง
และส่วนใหญ่คุณยายมักจะเก็บเงินเป็นทรัพย์สิน บ้าน ที่ดิน
ไม่ค่อยได้เก็บเป็นเงินสดไว้
ซึ่งตอนต้นชีวิต คุณยายก็ไม่ได้เก็บเงินเป็นอสังหาริมทรัพย์
แต่เพราะเป็นคนใจอ่อน อดใจที่จะให้คนยืมเงินไม่ได้ และพอให้เงินคนอื่นยืม
ก็มักจะไม่เคยได้คืนสักครั้งเลย เลยตัดสินใจเก็บเป็นทรัพย์สินไว้
มนุษย์เราพอกรรมเล่นงานเรื่อย ๆ กรรมเบาลง ก็ทำให้เกิดปัญญาคิดได้
เช่น คุณยายโดนโกงไปหลายครั้ง จนกรรมเบาลง
พอถึงเวลาที่คิวของบุญให้ผล ก็จะมีเหตุการณ์ที่ทำให้คิดได้ว่า
ต้องเก็บเงินไว้ในรูปแบบอื่น
บวกผลของบุญที่ได้ทำตลอด ก็จะทำให้หาเงินสดมาผ่อนที่ดินได้หมด
การที่จะมีฐานะที่มั่นคงไม่เดือดร้อนทางด้านการเงินนั้น
ไม่ได้เกิดจากผลแห่งบุญแต่เพียงอย่างเดียว
ต้องอยู่ที่ความขยันที่จะทำให้ทรัพย์สินเพิ่ม
ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินรายได้ของตัวเอง ไม่ยุ่งกับการพนันทุกชนิด
ไม่ติดสุรา ไม่คบเพื่อนที่เที่ยวมากเกินไป
วันนี้คุณยายมาดูเรื่องของการขายที่ดิน ว่าจะขายได้ไหม
ซึ่งคุณยายคิดที่จะขายที่ดิน เพราะอยากจะได้เงินสดมาเก็บไว้ใช้ส่วนหนึ่ง
และอีกส่วนอยากจะเก็บไว้ทำบุญตามที่อยากจะทำ
ดวงคุณยายมีดวงขายที่ดิน จึงบอกว่ามีเกณฑ์ขายได้
ส่วนเรื่องสุขภาพ ตามดวงตัวเลขในตำราหมอดู จะมีเกณฑ์อายุสั้น
แต่คุณยายเหนือดวงด้วยการทำกรรมดีมาตลอด
จึงทำให้ดวงไม่เดินตามดวงตัวเลข
คุณยายมักจะได้ทำบุญ กับผู้ป่วยโรงพยาบาลอยู่เสมอ
ปล่อยสัตว์อยู่เรื่อย ๆ และยังได้ทำบุญด้านอื่นที่เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย
ความเจ็บป่วยของมนุษย์ ตามกำลังที่จะทำได้
บวกกับการที่ คุณยายโชคดีมีบุญเก่าหนุน
ทำให้เกิดในครอบครัวที่สอนให้รักษาศีล ไม่ฆ่าสัตว์เพิ่ม
ทำบุญสร้างกุศล และภาวนา
ศึกษาธรรมะมาตั้งแต่เด็ก ๆ เลยพลอยทำให้ดูเป็นคนแก่ที่ไม่ขี้บ่น ไม่แก่เร็ว
กรรมที่จะหนัก ก็เลยกลายเป็นเบา หรือเวลาที่โดนกรรมเล่นงาน ก็หนีได้ทัน
แถมยังเป็นคนไม่ค่อยคิดมาก ไม่หลงไม่ลืมอะไรง่าย
ภาษาอังกฤษที่เคยไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมา ยังพูดได้ดีอยู่เลย
ด้วยเหตุปัจจัยแห่งบุญกุศลที่คุณยายได้ทำไป
จึงทำให้คุณยายเป็นคนอายุยืนเหนือดวง ไม่มีราหูที่จะครอบดวงได้
ไม่จนไม่ตกอับเรื่องของการเงิน เพราะผลแห่งทานที่ได้ทำมาตลอด
ไม่เป็นคนแก่ที่หลงขี้ลืมอะไรง่าย มีความจำดี
มีเหตุและผลไม่ขี้บ่นจนทำให้ลูกหลานเบื่อหน่าย
เพราะปฏิบัติภาวนา ขัดเกลากิเลส แถมยังฉลาดทันโลกอีกด้วย
แต่ในใจลึก ๆ เหมือนยังมีห่วงอยู่ แต่ไม่ได้ถึงขั้นเป็นทุกข์มาก
ก็คิดว่าคงห่วงลูกห่วงหลาน ก็ได้ถามว่าคุณยายมีอะไรสงสัยถามได้นะคะ
คุณยายก็ถามว่าแล้วคุณแม่และคุณน้า จะอยู่ได้อีกนานไหมคะ
ฉันตกใจกับคำถามเล็กน้อย คิดในใจว่าคุณยายอายุแปดสิบแล้ว
คุณแม่และคุณน้า ของคุณยายจะอายุเท่าไหร่กัน
คุณยายให้ดวงมาคำนวณ คุณแม่อายุ ๑๐๒ ปี คุณน้าอายุ ๘๖ ปี
ปฏิทินร้อยปีเปิดง่ายมาก อยู่ตอนต้นเล่มพอดี
ตั้งแต่ดูดวงมานี่เป็นครั้งแรก ที่มีโอกาสได้ดูดวงคนอายุเป็นร้อย
ซึ่งเป็นอะไรที่แปลกมากเหมือนกัน ที่ดวงทั้งสามคน
คุณยาย คุณแม่ คุณน้ามีดวงอายุสั้น แต่ไม่เห็นมีใครสั้นซักคนเลย
ทุกคนอายุเกินมาตรฐาน ๗๕ ปีหมดเลย
ก็เตือนไปว่าใครต้องระวังอะไร ตอนอายุเท่าไหร่
บอกกับคุณยายว่า บ้านคุณยายเหนือดวงกันทั้งบ้าน
ทั้ง ๆ ที่ดวงอายุสั้น แต่ไม่สั้นกันทั้งบ้าน
เป็นเพราะผลของกรรมดีที่ทำกันทั้งบ้าน ทำให้อายุยืน
คุณยายเล่าให้ฟังว่า คุณแม่เคยเป็นมะเร็ง ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
คุณหมอที่รักษาให้ตอนนี้เกษียณกันหมดแล้ว หมอตายก่อนคุณยายก็มี
จนตอนนี้คุณแม่ของคุณยายอายุ ๑๐๒ ปีแล้ว มะเร็งหายแล้ว
และได้เล่าอีกว่าคุณแม่ชอบทำบุญมาก
ตอนสมัยที่มีสงครามโลก พระที่วัดไม่มีข้าวจะฉัน
คุณแม่เป็นแม่งานใหญ่ทำกับข้าวเลี้ยงพระทั้งวัด
และแจกคนแถวนั้น ตลอดระยะเวลาที่มีสงคราม
คุณแม่คิดจะบวชตลอดชีวิต ก็ได้ไปอยู่วัดปฏิบัติธรรมแล้ว
แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน ต้องออกมาช่วยลูกสาวเลี้ยงหลาน เพราะไม่มีใครช่วยเลี้ยง
คุณน้ายังแข็งแรง เดินเหินคล่องแคล่วทำงานบ้านได้อยู่เลย
ถึงแม้จะมีโรคร้ายเบียดเบียน ผลแห่งกุศลที่ทำไป ก็จะทำให้เจอหมอที่เก่ง
ไม่สะเพร่า กินยาไม่ดื้อยา ไม่แพ้ยา สามารถรักษาให้หายได้
และที่สำคัญ ผลแห่งการภาวนาทำให้ไม่กลัวตายมากจนจิตใจหดหู่
และเป็นทุกข์เพราะความกลัว “ความตาย”
ความเป็นจริงมนุษย์เราเกิดมาก็ต้องตาย
แต่อยู่ที่ใครจะไปช้าหรือไปเร็วกว่ากันแค่นั้นเอง
หลายคนที่เคยไปดูหมอมักจะโดนทักว่าดวงกำลังจะถึงฆาต
หรือต้องตายอายุเท่านั้นเท่านี้ กำหนดอายุมาให้พร้อมเลย
คนที่จิตอ่อนคิดมากไปดูหมออาจจะอายุสั้น
เพราะคำทำนายของหมอดู ทำให้คิดมากนี่แหละค่ะ
การที่ดวงออกมาเป็นดวงอายุสั้น หรือดวงที่มีเคราะห์นั้น
เกิดจากกรรมเก่าที่เคยฆ่าสัตว์ ทำให้ต้องมาเกิดในฤกษ์เกิดที่มีเคราะห์
และอายุสั้น แต่ถ้าทำกรรมดีใหม่ ๆ ก็จะเป็นตัวแปรที่สามารถเปลี่ยนดวงได้
หรือว่าใครมีโรคร้ายอยู่เพราะกรรมเก่าเป็นเหตุ
ทำให้มีอายุอยู่ได้อีกไม่นาน ก็อย่าเพิ่งท้อแท้
ลองมาเปลี่ยนเส้นทางออกจาก นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต
ไปสู่เส้นทางที่จะไปสวรรค์ หรือเกิดมาเป็นมนุษย์ กันดีกว่า
เริ่มจากการสำรวจว่า ได้ทำกรรมหนักอะไรไหมในชีวิตที่ผ่านมา
โดยใช้ศีลห้าเป็นหลักในการตัดสิน
พอพบแล้วว่าได้ทำผิดไป ก็สำนึกผิดในกรรมที่ทำไป
ตั้งใจที่จะไม่ทำผิดอีก และไม่ต้องสำนึกผิดบ่อยเกินไป
ถ้าเราสำนึกผิดบ่อยมากเกิน
มันจะเป็นตัวเชื่อมโยงกรรมเก่า ๆ ที่ทำมาเล่นงานตัวเราเร็วขึ้น
ถ้าเคยทำกรรมกับพ่อกับแม่ไว้ ก็ไปกราบขอให้ท่านอโหสิกรรมให้
และก็สวดมนต์ก่อนนอนทุกวัน ใช้บทสวดสั้น ๆ ก็ได้
เพื่อที่จะได้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นพึ่งทางใจให้อบอุ่น
เพราะไม่สามารถพึ่งคนอื่นได้ในตอนนั้น และก็แผ่เมตตา
เวลาที่โกรธใครก็พยายามให้อภัย
ถ้าช่วงไหนใจมันไม่ยอมให้อภัยง่าย ๆ ก็ค่อยสอนบอกต่อว่า
ไหน ๆ ก็จะไม่อยู่แล้ว ให้อภัยไปเถอะ
เวลาดูข่าว ได้ยินเรื่องสะเทือนใจ ก็แผ่เมตตา
และก็บอกตัวเองว่า “สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม”
จิตใจจะได้ไม่ทุกข์เพราะเรื่องคนอื่น
จิตที่เกิดความโกรธ
จะเป็นหนทางไปนรก

และพอร่างกายไม่สบายจิตใจก็จะหดหู่ คิดมาก
พยายามเดินจงกรม ให้มีสติ (ถ้าเดินไหว)
หรือไม่ไหวก็เคาะให้รู้สึกตัว ขยับไม้ขยับมือ
ง่ายสุด ดูลมหายใจตัวเองเพื่อดึงจิตให้อยู่กับปัจจุบันเรื่อย ๆ
จิตใจจะได้มีความสุขกับปัจจุบัน
จิตที่คิดมากฟุ้งซ่าน หดหู่
จะพาให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

พยายามสละทานเล็กน้อยอยู่เรื่อย ๆ
สมบัติอะไรที่รักมากหวงมาก ก็ลองพยายามสละออกให้คนที่เขาไม่มีโอกาส
เพื่อละความตระหนี่ จิตใจจะได้ไม่หวงสมบัติ
จิตที่มีแต่ความโลภ หวงสมบัติ
จะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ภพภูมิของเปรต
อดีตผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้
อนาคตอยู่ที่ปัจจุบัน
การกระทำในปัจจุบัน เป็นเครื่องกำหนดอนาคตของเรา

9/8/10

INCARNATIONเกิดใหม่ในชาตินี้(ตอน2)


ความคิดของคนก็เป็นอย่างนั้นไม่ผิดเพี้ยน!!!
เมื่อไหร่ที่เรารวมศูนย์ความคิดได้ มันก็จะมีพลังไปทะลุทะลวงกำแพงแห่งปัญหา
เพื่อไปส่องสว่างยังคำตอบที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรานั่นเอง
     การดึงความคิดให้รวมศูนย์เป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้ความคิดมีพลังจดจ่ออยู่กับ
เป้าหมาย วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การเขียนสิ่งที่ต้องการลงในกระดาษทุก ๆ สิบนาที จดจ้อง
มองสิ่งที่เขียน กลั้นลมหายใจระหว่างจับจ้องข้อความนั้น
     อาจมีคำถามว่า หากเป็นเช่นนั้น มิต้องเขียนทั้งวันหรอกหรือ คำตอบคือ ใช่!!!เพราะ
นีคือการสร้างความคิดที่จดจ่อ
     อย่างที่ผมเคยบอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า สาเหตุที่เราเป็นคนเดิมที่เกียจคร้านหรือเฉื่อยชา
มิใช่ว่าเราไม่รู้จักเป้าหมาย อีกทั้งไม่ใช่ว่าเราไม่รู้จักวิธีการที่ดี แต่เป็นเพราะเราไม่จดจ่อ
อยู่กับเป้าหมาย และเป้าหมายเราไม่ดึงดูดใจมากพอ
     มีคนเก่ง มีการศึกษาดี มีต้นทุนและเครื่องมือที่เพรียบพร้อมมากมายที่ไม่ประสบ
ความสำเร็จ เพราะพวกเขาไม่รู้จักควบคุมความคิดให้รวมศูนย์ ผลก็คือเขาทำหลาย ๆ
อย่าง คิดหลายอย่าง และสนใจหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน จนสับสนปนเปกันไปหมด
     อย่างเช่นคนที่มีความฝันสวยหรู กำลังมีความสุขกับการทำงานอยู่ดี ๆ ไปพบรักกับ
ผู้หญิงที่น่าอัศจรรย์ที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเจอ จนเกิดความสุขสีชมพู วัน ๆ เอาแต่โทร
ศัพท์คุยกันวันละหลายชั่วโมง ต้องหาเวลาพาคนรักออกไปเที่ยว ไปรับประทานอาหาร
ดูหนัง ฟังเพลง ผลก็คือ ต้องเสียเวลาและพลังงานไป ไม่เหลืออะไรไว้สำหรับเป้าหมาย
ที่สดใสที่ตั้งใจไว้ก่อนหน้านั้น นี่คือเป็นเรื่องของการจดจ่อทางความคิด
     เมื่อความคิดของคุณแตกแยกเป็นหลายเรื่อง พลังดึงดูดจากจิตใต้สำนึกก็ซ่าน
กระเซ็น ทำให้สิ่งที่คุณต้องการก็จะมาถึงช้าลง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะจิตใต้สำนึก
ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่คุณต้องการจริง ๆในเวลานั้น
     วิธีการรวมศูนย์ของความคิด ให้เริ่มต้นที่การถามตัวเองด้วย คำถามนี้ซ้ำ ๆ ตลอดเวลาที่ยืน
เดิน นั่งหรือนอน ว่า
“ขณะนี้ฉันกำลังทำสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริงอยู่หรือเปล่า”
”ฉันกำลังเสียเวลาทำสิ่งที่ไม่ใช่เป้าหมายหรือเปล่า”
”สิ่งที่ฉันกำลังทำอยู่เวลานี้เร่งด่วนกว่าเป้าหมายหลักที่ฉันรักที่สุดหรือเปล่า”
”ฉันรอที่จะทำเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตแห่งความสำเร็จเมื่อไหร่กัน”
”ฉันกำลังเดินถอยหลังจากเป้าหมายหลักอยู่หรือเปล่า”
     ให้คุณถามคำถามทำนองนี้ซ้ำ ๆ เรื่อย ๆ ด้วยประโยคเดิมขณะนั่งหลับตาคนเดียว
ในสถานที่เงียบ ๆ หรือหากคุณยืนหรือเดิน ก็ให้ถามขณะยืนหรือเดิน ถามซ้ำ ๆ
     ถัดมาให้หาเวลาในแต่ละวัน ๆละ10นาที ถอดจิตตัวเองด้วยวิธีขยายร่างเสมือนจริง
(Doubling body & mind)ด้วยการหลับตามองเห็นตัวตนคนเดิมของคุณที่ล้มเหลว
ผิดหวัง เสียใจ เกียจคร้าน เฉื่อยชา ติดคอมพิวเตอร์ ติดทีวี หรือนิสัยแบบไหนก็ตาม
ที่คุณต้องการขจัดออกไป โดยจินตนาการว่าคุณกำลังนั่งอยู่ท่ามกลางเปลวไฟที่ลุกท่วม
ตรงกลางมองเห็นตัวเองร้อนเหงื่อไหลเปียกโชกทั้งตัว แล้วค่อย ๆ เห็นเปลวไฟลุกโชนขยายขอบเขตใหญ่ขึ้นครอบคลุมร่างคุณผ่านไปสัก 2-3 นาที ให้จินตนาการมองเห็นตัวเองมีร่างกายสีทองสดใส ลุกขึ้นจากกองเพลิงสีหน้ายิ้มแย้มเบิกบาน ดวงตาเป็นประกายมั่นใจ ทรงพลัง แล้วเห็นตัวเองมีรูปร่างขยายใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็มองเห็นเปลวเพลิงค่อย ๆมอดดับลงช้าๆ สวนทางกับร่างกายของคุณที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จากนั้นเห็นสีผิวตัวเองจากสีทองเปล่งประกายค่อย ๆเปลี่ยนสภาพเป็นสีเนื้อตามปกติแต่มีประกายสดใสมีชีวิตชีวา มองเห็นตัวเองอยู่ในสภาพสดใหม่ มั่นใจเหลือล้นอยู่เช่นเดิม ให้ทำเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนครบสิบนาที แล้วบอกตัวเองว่า
“อา…ในที่สุดเราก็เป็นคนใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมแล้ว เวลานี้เรารู้สึกดีเหลือเกิน มีพลังเหลือเกิน มีความกระตือรือร้นเหลือเกิน เราพร้อมแล้วที่จะลงมือทำและอยู่กับเป้าหมายทันทีเดี๋ยวนี้และจดจ่ออยู่กับมันเท่านั้น จะไม่ยอมเสียเวลากับอะไรอื่น นอกจากนี้”
     โดยให้คิดถึงข้อความนี้ซ้ำ ๆ อย่างน้อย 10เที่ยว
     วิธีการข้างต้นผมขอรับประกันว่ามันจะทำให้คุณสร้างตัวตนคนใหม่ให้เกิดขึ้นภายในได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อข้างในใหม่ผลลัพธ์ที่งดงามย่อมเปล่งประกายออกสู่ภายนอกโดยอัตโนมัติ
     ที่ผมพูดถึงภายนอก หมายถึงในส่วนของร่างกายครับ อย่างที่บอก การเฝ้าร่างกายอย่างถูกวิธีจะทำให้เราไม่หลงทางทำสิ่งที่ไร้ประโยชน์
     เป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะรู้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่ไร้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน แต่เรื่องไม่ยากก็คือหากสิ่งที่ท่านทำไม่ส่งผลลัพธ์โดยตรงให้ท่านบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ให้รีบสรุปได้ทันทีว่านั่นแหละคือสิ่งที่ไร้ประโยชน์
     การที่ใครสักคนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อรอให้เวลาผ่านไป แม้ว่าคน ๆนั้นรู้สึกว่าตัวเองมีความสุข แต่ในระยะยาวไม่มีอะไรรับประกันว่า สิ่งนั้นจะเกิดประโยชน์ต่อคนทำ
     ดูตัวอย่างคนเสพยา ซึ่งไม่ต่างจากคนเสพคอมพิวเตอร์ เสพโทรทัศน์ เสพการคุยโทรศัพท์ เสพวงสนทนา เสพสุรา เสพการติฉินนินทา เสพการวิพากษ์วิจารณ์ เสพการพักผ่อนนอนหลับ หรือเสพกามพวกเขาทำเพราะรู้สึกดี แต่ก็ไม่แน่ว่าจะมีประโยชน์เสมอไป
     ร่างกายคนโดยลำพังไม่สามารถทำอะไรได้ หากไร้ซึ่งอำนาจบงการของจิตใจ เมื่อไหร่ที่จิตใจขาดพลัง ความคิดขาดการรวมศูนย์ร่างกายก็จะไร้ซึ่งการควบคุม ทำให้เซลส์ของร่างกายขาดการชี้นำที่ถูกต้องเหมาะสม มันถึงได้ทำอะไรตามอำเภอใจและต่างเซลล์ก็ต่างเจตจำสง ผลก็คือร่างกายแต่ละส่วนจะทำผิดหน้าที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลการเจ็บป่วย ความแก่ชรา และบาดเจ็บล้มตายให้เห็นในที่สุด ความจริงแท้ข้อนี้เป็นสิ่งที่คนส่วนใหย่ละเลย แต่มักจะไปโทษเวรกรรม บาปเคราะห์ อะไรทำนองนั้น
     การเฝ้าสังเกตร่างกายอย่างถูกวิธี จะทำให้คุณประสานพลังเจตนารมณ์ให้เข้ากับร่างกายได้อย่างสอดคล้อง จะทำให้ร่างกายคุณอยู่ยืนยงและมีกำลังวังชาทำงานตามที่คุณสั่งได้อย่างไม่เกียจคร้านเหน็ดเหนือย
     วิธีการง่าย ๆ คือให้เฝ้าสังเกตุพฤติกรรมในแต่ละวันว่า “ช่วงนี้ ฉันกำลังเสพติดอะไรอยู่” “สิ่งที่ฉันเสพอยู่นี้ให้อะไรแก่ตัวฉันอย่างถาวรบ้าง” “กิจกรรมที่เสพติดนี้ส่งผลให้ฉันคืบหน้าไปสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็วหรือไม่” จงถามคำถามแบบนี้ให้บ่อยที่สุด
     จากนั้นให้เฝ้าสังเกตุว่าทุกครั้งที่คุณนั่ง ยืน เดิน อ่าน ฟัง ดู สนทนา หรือตอบสนองกิจกรรมต่าง ๆ ทุก ๆขณะจิต ให้ถามตัวเองว่า “กิจกรรมที่กำลังเสพอยู่นี้ ใช่หนทางไปสู่เป้าหมายหรือ” ถ้าคำตอบว่าไม่ใช่ ให้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือเปลี่ยนสิ่งที่กำลังทำอยู่เวลานั้นทันทีให้ฝึกทำเช่นนี้เป็นประจำ คุณจะพิชิตชัยชนะเหนือร่างกายและจิตใจแล้วกลายเป็นคนใหม่อย่างแน่นอน ผมรับประกัน
     ก่อนจากกันชั่วคราว ให้อ่านข้อความต่อไปนี้อย่างจดจ่อและมีสมาธิ ซ้ำ ๆ อย่างน้อย 10เที่ยว
                  “นับจากวินาทีนี้เป็นต้นไป ฉันได้ตัดสินใจแล้วที่จะเป็นคนใหม่ที่มีพลังและมีศักยภาพมากกว่าเก่าอย่างสิ้นชิง ฉันจะลงมือทำสิ่งที่จะนำพาไปสู่เป้าหมายเดี๋ยวนี้เลย ฉันจะไม่เสพสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ฉันจะเป็นในสิ่งที่อยากเป็น ฉันเชื่อว่าฉันสามารถมีทุกอย่างที่อยากมี สามารถครอบครองทุกสรรพสิ่งที่อยากได้ ฉันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ฉันเป็นคนใหม่แล้ว ฉันคิดการใหญ่แล้ว ไม่มีอะไรที่ฉันทำไม่ได้ ฉันมั่นใจ ฉันรู้สึกว่าชีวิตฉันนับจากนี้มันช่างยอดเยียมเหลือเกิน”
                        ขอให้โชคดีและมีชีวิตที่เหลือเชื่อครับ !!!
ที่มา : หนังสือเกิดใหม่ในชาตินี้ / ผู้แต่ง : วิศิษฐ์ ศรีพิบูลย์
uy159

INCARNATION เกิดใหม่ในชาตินี้(ตอน1)

เป็นหนังสือจากนักเขียนที่ชื่นชอบอีกท่านนึงที่ติดตามผลงานมาก็หลายเล่มแล้ว
ผู้เขียนคือคุณวิศิษฐ์ ศรีพิบูลย์ ลองมาอ่านบางตอนที่น่าสนใจดูค่ะ
Book-Magazine-46375ขั้นตอนที่10   จงเป็นนกฟินิกซ์ (Phoenix)
     ในโลกนี้มีคนอยู่สองประเภทเท่านั้น คือคนที่ประสบความสำเร็จและคนล้มเหลว
ไม่มีคนประเภทระหว่างกลางที่ก้ำกึ่งให้คุณเลือกเป็น หากคุณไม่อยู่ในเส้นทางที่มุ่ง
ไปหาความสุขและความสำเร็จ นั่นหมายความว่าคุณกำลังมุ่งไปสู่ทิศทางที่ตรงกันข้าม
ผลก็คือเมื่อเวลาผ่านไปวันแล้ววันเล่า คุณจะวนกลับมาที่เดิมแล้วนั่งถามตัวเองว่าทำไม
เป้าหมายที่ใฝ่ฝันมันช่างห่างไกลเหลือเกิน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะคุณไม่เคยตัดสินใจที่จะ
เลือกเป็นคนใหม่และไม่เคยเปลี่ยนเส้นทางเดิน เพื่อจะมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง
เลยสักครั้ง
     ทันทีที่คุณใช้วงจรชีวิตแบบเดิม ทำทุกอย่างเหมือนเดิม อยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม
และยังคบคนกลุ่มเดิม ๆ คุณจะไม่มีวันเป็นคนใหม่ได้เลย
     หากคุณใช้เวลานอนเท่าเดิม กินอาหารแบบเดิม อ่านหนังสือแนวเดิม และไม่เคยลง
มือทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ต่างออกไป โอกาสที่จะเกิดเป็นคนใหม่ในชาตินี้ก็จะยังมาไม่ถึง
     แต่การพบกับหนทางใหม่ที่สดใสอย่างฉับพลันก็มิใช่เป็นเรื่องเหลือเชื่ออีกต่อไป
เพียงแค่คุณทำตัวเป็นนกฟินิกซ์
     นกฟินิกซ์เป็นสัตว์ในตำนานตามเทพนิยายอียิปต์โบราณและเชื่อต่อกันมาจนถึงสมัย
กรีก ว่ากันว่าเป็นสัญลักษณ์ของการจุติใหม่เป็นนกที่มีวงจรชีวิตยาวนานถึง 500 ปี
และเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต นกฟินิกซ์จะก่อกองไฟขึ้นเผาตนเองเพื่อกำเนิดเป็น
นกฟินิกซ์ตัวใหม่ที่เยาว์วัยจากกองถ่านขี้เถ้าและจากนั้นก็จะมีชีวิตต่อไปอีก 500ปี
วนเวียนตลอดไปอยู่อย่างนี้จนเป็นอมตะ
     นกฟินิกซ์มีลักษณะคล้ายนกอินทรี นัยน์ตาสีฟ้าเปล่งประกายเจิดจ้าราวประกาย
แสงอาทิตย์ มีจงอยปากแหลมกว่านกอินทรีย์ ขนสีทองทั้งตัว บริเวณคอมีสีแดงสลับ
ม่วง มีเกล็ดสีทองวับวาวตามหน้าแข้งเล็บสีแดงบานคล้ายกลีบกุหลาบ
     การมีชีวิตยืนยาวเยี่ยงนกฟินิกซ์รวมถึงการเผาตัวเองเพื่อเกิดใหม่ ทำให้ชาวกรีก
และชาวโรมันนำภาพนกฟินิกซ์มาเป็นสัญลักษ์ของความเป็นอมตะและชัยชนะเหนือ
ความตาย
     นี่เองเป็นที่มาของวิธีการหลอมละลายตัวตนคนเดิมแล้วหล่อรูปกายสร้างจิตวิญญาณ
ใหม่ที่ศาสตร์เอ็นแอลพีทำกันมาจนโด่งดัง
     หลักการง่าย ๆ มีอยู่ว่า การที่คนเราไม่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เป็น
เพราะเราไม่เฝ้าสังเกตจิตใจและร่างกายอย่างถูกวิธี
     การกระทำของคนมีความคิดเป็นตัวนำ แต่ความคิดมีเกิดดับตลอดเวลา ขอย้ำอีกครั้ง
ว่า ในแต่ละวันเรามีความคิดหลักผุดขึ้นมาประมาณ 500 เรื่องที่ทำให้เราใช้เวลาคิดในแต่
ละเรื่องมากกว่า 2 วินาที ยกเว้นบางเรื่องที่เราเสียเวลากับมันทั้งวัน แต่แม้กระนั้น เรื่องที่
เราคิดอยู่ตลอดเวลา ก็ยังมีความคิดปลีกย่อยแทรกขึ้นมาอีก นี่ยังไม่นับความคิดเบ็ดเตล็ด
ผุดดับ ๆ อีกนับไม่ถ้วน ด้วยสภาพจิตใจแบบนี้ ทำให้คนเราขาดสมาธิ ไม่มีการจดจ่อ
และสิ่งที่ทำตรงหน้าก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ในที่สุดทำให้พลังดึงดูดของเราก็ทำงานไม่เต็มที่
     ด้วยความคิดจำนวนมากที่เกิด ๆ ดับ ๆ เช่นนี้ ทำให้พลังแห้งการคิดของเราขาดการ
รวมศูนย์ ผลก็คือเราไม่สามารถจดจ่ออยู่กับเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้เพียงพอ หมายความว่า
เราไม่สามารถรวมจิตให้มีพลังเหมือนลำแสงเลเซอร์
     ต้องไม่ลืมว่าลำแสงเลเซอร์คือกลุ่มพลังงานที่มีเครื่องมือชนิดพิเศษนำพลังแสงมา
รวมไว้ในที่เดียวกันจนบังคับทิศทางได้ ทำให้เกิดพลังงานเข้มข้น สามารถทะลุทะลวงโลหะ
ได้อย่างง่ายดาย   
 
        ตามอ่านตอนที่2 ด้วยนะจ๊ะ

8/26/10

วิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน)

วิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน)
ที่มา: หนังสือ "สมาธิหมุน จิตวิวัฒน์เพื่อความพ้นทุกข์" เรียบเรียงโดย คุณเกียรติศักดิ์ แสงสุวรรณ
บทเริ่มต้นของการฝึกจิต คือสมถกรรมฐาน เป็นการฝึกจิตให้เกิดความสงบ เพื่อให้จิตมีพลังเพิ่มขึ้น พลังจิตที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เราทราบถึง ระดับพลังของจิตว่ามีกี่ระดับ ตลอดจนคุณสมบัติ คุณประโยชน์ของแต่ละระดับพลังนั้น เพื่อสามารถคัดเลือกระดับพลังจิตที่เหมาะสมไปใช้งานตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้
การนำระดับพลังจิตที่เหมาะสม ไปใช้ศึกษากระบวนการทำงานของจิต ว่าจิตมีกระบวนการทำงานอย่างไร และเมื่อเข้าใจกระบวนการทำงานของจิตแล้ว นำความเข้าใจที่ได้ไปสร้างวิธีการเพื่อฝึกจิต เพื่อพัฒนาจิตจนสามารถเป็นอิสระหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ คือ วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นวิธีการนำพลังจิตที่มีระดับพลังที่เหมาะสม ไปฝึกจิตเพื่อให้จิตพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
อันความทุกข์นั้น เป็นสภาพที่ทนอยู่ด้วยยาก เป็นสภาพที่บีบคั้น ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ตามเหตุปัจจัยที่เข้ามาประกอบ และแม้มันเป็นสิ่งที่ทนอยู่ด้วยยาก แต่จิตเราก็หลุดพ้นออกมาจากมันได้ยากนัก สาเหตุแห่งความทุกข์นั้น เกิดจากจิตไปหลงยึดติดสสารและพลังงาน ตลอดจนความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของทั้งสสารกับพลังงาน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการ เรียกว่า ขันธ์ทั้ง 5
ขันธ์ 5
ขันธ์ทั้ง 5 ได้แก่
  • รูป คือ ร่างกายตัวตน
  • เวทนา คือ ความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉย
  • สัญญา คือ ความจำได้ ระลึกได้ รู้ความหมายของจิตที่เกิดขึ้น
  • สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง หรือเจตนาที่มีต่อจิตที่เกิดขึ้น เป็นความคิดที่เป็นกุศล อกุศล หรือ เป็นกลาง
  • วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นคือ รู้รูป รู้เวทนา รู้สัญญา รู้สังขาร และ รู้ความรู้อารมณ์
สาเหตุของทุกข์นั้น ไม่เพียงแต่จิตเข้าไปยึดติดขันธ์ 5 เท่านั้น ขันธ์ 5 เอง ก็มีแรงดึงจิตให้จิตมายึดติดเช่นกัน
สาเหตุที่จิตไปยึดติดขันธ์ 5 ก็เพราะ จิตไม่รู้ถึงกระบวนการที่จิตไปยึดติดขันธ์ ว่ายึดติดไปได้อย่างไร และก็ไม่รู้กลไกการทำงานของจิตเองด้วย การจะออกจากขันธ์ 5 นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้กระบวนการของมัน หากไม่รู้กระบวนการที่เกิดขึ้นกับทั้งเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาประกอบ ก็จะไม่รู้เลยว่าจะออกมาจากขันธ์ได้อย่างไร ซึ่งหากเรารู้กระบวนการของมันเราย่อมจะรู้เท่าทัน ทำให้เรา บริหาร จัดสรร และควบคุมไม่ให้จิตยึดติดกับขันธ์ จนภาวะของความทุกข์เกิดขึ้นแก่เราไม่ได้
ความทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับเรานั้น มันปรากฏขึ้นเป็น ภาวะของความนิ่ง ที่จิตเราไปนิ่ง ยึดติดอยู่กับอาการต่างๆ ของขันธ์ 5 คือ
  • นิ่งอยู่กับ ความรู้สึกว่ามีตัวตนของเราอยู่ , นิ่งอยู่กับความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หนัก เบา
  • นิ่งอยู่กับ ความรู้สึกที่เจ็บปวด
  • นิ่งอยู่กับ ความคิด (จำได้) ถึงเรื่อง อดีต ปรุงแต่งทบทวนเรื่องราวต่างๆ จากอดีต นิ่งอยู่กับ ความนึก (หมายรู้) ถึงเรื่อง อนาคต ปรุงแต่งคำนวณเรื่องราวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • นิ่งอยู่กับ ความรู้อารมณ์ เช่น กลัว กล้า เศร้า เหงา ดีใจ เสียใจ รัก ชัง โกรธ เกลียด สยดสยอง มัวเมา ริษยา อิจฉา โลภ
  • นิ่งรู้อยู่กับ ความรู้สึกว่ามีตัวตนอยู่ รู้ว่ารู้สึก รู้ว่าคิด รู้ว่านึก รู้ว่ารู้อารมณ์
เมื่อจิตเข้าไปนิ่งยึดเกาะอยู่กับภาวะของความทุกข์แล้ว ที่ผ่านมาหากเราไม่รู้วิธีการของวิปัสสนาเราก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้จิตถอนออกมาจากความนิ่งนั้น เราก็พยายามทำให้ความรู้สึกมันเปลี่ยนไปตามวิธีการเท่าที่เรารู้ เท่าที่เรามีประสบการณ์ เท่าที่จิตเราเคยไปถึง เพื่อให้ความรู้สึกมันเปลี่ยนสภาพไป เป็นสภาพที่ทุกข์น้อยกว่าเดิม หรือจนหมดไป วิธีการที่เรารู้จักและทำกันมา คือ
  • ไปเสพกามคุณทั้ง 5 ให้จิตไปรับอารมณ์ที่เป็นสุขจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โดยหวังว่าจะให้กามคุณช่วยระบายความทุกข์ให้ แต่การเสพกามก็ไม่ใช่เป็นการระบายทุกข์ แต่เป็นการไปรับอารมณ์ใหม่เข้าไปทับอารมณ์เก่า กลับจะเพิ่มสิ่งที่จิตยึดเกาะเพิ่มขึ้น
  • เข้าไปอยู่ในอารมณ์ของฌาน อันมี ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน การเข้าฌานนั้นสามารถทำให้ทุกข์นั้นดับหายไปจากความรู้สึกได้จริง แต่ก็ดับได้ในขณะที่อยู่ในฌานเท่านั้นเมื่อออกจากฌานมาทุกข์นั้นก็ยังอยู่ไม่หายไปไหน เพราะการเข้าฌานจัดเป็นวิธีการที่หนีทุกข์ และกดข่มทุกข์ด้วยพลังจิต ไม่ยอมรับสภาพปัจจุบันของทุกข์ที่เกิดขึ้น
การเสพกาม การเข้าฌานล้วนเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น และท่านก็ได้ข้อสรุปว่าไม่สามารถทำให้พ้นจากทุกข์ได้จริง วิธีการที่เราต้องการก็คือ ทำอย่างไรให้เราอยู่กับความทุกข์ที่เกิดขึ้นในสภาพปกติได้ โดยไม่ต้องไปหนีไปไหน ไม่ต้องไปเสพกาม ไปเข้าฌานที่ลึก โดยที่จิตเราก็ไม่เกิดทุกข์ตามความทุกข์ไป วิปัสสนากรรมฐานคือวิธีการที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
หากอาการของจิต ที่เกิดขึ้นจากการฝึกจิตด้วยวิธีสมถกรรมฐาน คือ จิตเกิดกำลังของความสงบในระดับต่างๆ ซึ่งเรียกว่า ฌาน ทำให้จิตเกิดความสุขสงบ สำหรับอาการของจิตที่เกิดขึ้นจากการฝึกจิตด้วยวิธีวิปัสสนากรรมฐาน จะเป็นอาการของจิตที่เรียกว่า สติ จะทำให้จิตมีภาวะที่รู้ตัวทั่วพร้อม และ รู้เท่าทันปรากฏการณ์ เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มกำลังของสติ
สติปัฏฐาน 4
การฝึกสติ ก็มีฐานที่ใช้ฝึกจิตให้เกิดสติอยู่ 4 ฐานด้วยกันคือ ใช้กายเป็นฐาน เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้เวทนาเป็นฐาน เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้อาการของจิตเป็นฐาน เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตเป็นฐาน เรียก ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน
เมื่อเราฝึกจิตให้เกิดสติตามฐานที่ใช้ฝึก สติที่เกิดขึ้นจะมีอยู่สองอาการ สองความหมาย
ที่เราควรพิจารณาและทำความเข้าใจให้ดี คือ สติสัมปชัญญะ และ สติปัฏฐาน
สติสัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นการกำหนดรู้อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามฐานที่ใช้ฝึกสติ คือ
  • พิจารณากาย ก็เกิดความรู้ตัวทั่วพร้อมในอาการของกาย
  • พิจารณาเวทนา กำหนดรู้ในอาการของเวทนา
  • พิจารณาจิต กำหนดรู้ในอาการของจิต 
  • พิจารณาธรรม กำหนดรู้ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิต สิ่งที่คอยประกอบจิต 
ดังนั้น ลักษณะของสติสัมปชัญญะ คือการกำหนดรู้ ในอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย เวทนา จิต ธรรม แต่อาศัยเพียงสติสัมปชัญญะนี้ จิตยังจะไม่พ้นทุกข์ได้ เพราะไปจะติดอยู่กับสภาพรู้ที่เกิดขึ้น กับกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งก็คือ ติดธาตุรู้หรือวิญญาณขันธ์ที่ใจอยู่
การฝึกวิปัสสนากรรมฐานไม่ใช่ฝึกให้เกิดสติสัมปชัญญะ แต่ฝึกเพื่อให้เกิดสติปัฏฐาน โดยอาศัยสติสัมปชัญญะเป็นเครื่องประกอบเพื่อให้เกิดสติปัฏฐาน หากฝึกจิตแล้วจิตยังอยู่กับอาการกำหนดรู้เช่นนี้ยังไม่เรียกว่า เป็นการฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริง
ลักษณะการฝึกสติที่มีการฝึกกันอยู่ทั่วไป ก็จะเป็นลักษณะกำหนดรู้อาการที่เกิดขึ้น แล้วพยายามกำหนดให้ละ ให้คลาย เป็นอาการของสติที่ผู้ฝึกปฏิบัติมักไปติดกัน แล้วเข้าใจว่า เป็นสติปัฏฐาน ผลที่เกิดขึ้นการจากฝึก สภาพจิตมันก็เปลี่ยนไปเหมือนกัน คือ จากที่มันไปติดสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ มันก็เปลี่ยนมาติดตัวรู้ว่าทุกข์แทน เมื่อทำมากๆ จิตจะเบื่อหน่ายกับสภาพรู้จากการกำหนดรู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนไม่อยากรับรู้อีก กำหนดรู้จนจิตหมดกำลัง เกิดเป็นสภาพดับไปในที่สุด ลักษณะของสภาพที่ดับไปนี้ สัญญาเวทนาจะดับหมด ความรู้ตัวทั่วพร้อมหมดไป จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร เป็นอะไร อยู่ในช่วงเวลาไหนยุคไหน ช่วงเวลาและเหตุการณ์ก่อนที่จะดับ และหลังดับจะไม่ต่อเนื่องกัน อยู่ๆ ก็ดับหายไปไหนก็ไม่รู้ ดับไปอย่างไรก็ไม่รู้ พอดับเต็มที่แล้ว ธาตุรู้ทำงาน สัญญาเวทนาทำงาน ก็เกิดโผล่ขึ้นมาจากไหนก็ไม่รู้อีก ช่วงเวลาที่ดับไปนั้นเราก็ไม่รู้ว่าดับไปนานเท่าไร เป็นสภาพที่ไม่มีความจำ ไม่มีความรู้สึก เราก็เลยจำสภาพดับไม่ได้ จะจำได้ก็เพียงว่า มันดับมืด และเรียบลื่นไปหมด ไม่มีสันญาณคลื่นพลังใดเลยในสภาพที่ดับนั้น
สภาพที่ดับนี้ก็มีการเข้าใจกันว่า คือ การบรรลุธรรม แท้จริงเป็นสภาพที่จิตต้องการพักผ่อนจากการที่ไม่อยากรับอารมณ์ภายนอก หลบเข้าไปในภาวะจิตที่ลึกที่สุด จัดเป็นลักษณะการเข้าฌานอย่างหนึ่ง คือ ไม่รับอารมณ์ภายนอก หลบหนีจากสภาพปัจจุบัน โดยใช้การดับข่มไว้ สภาพดับนี้เป็นการดับ ของสัญญาเวทนา เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นนิโรธสมาบัติ ซึ่งเป็นคนละความหมาย กับนิโรธ ในอริยสัจสี่ นิโรธในอริยสัจสี่ ก็คือ การเจริญสติปัฏฐาน
สติปัฏฐาน คือ ฐานที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ เพื่อฝึกจิตให้มีสติรู้เท่าทัน เห็นตามสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นตามฐานที่ใช้ฝึก ฐานที่ใช้ฝึกก็ได้แก่
  • กาย ให้เกิดความรู้เท่าทันในอาการของกาย
  • เวทนา รู้เท่าทันอาการของเวทนา
  • จิต รู้เท่าทันในอาการของจิต
  • ธรรม รู้เท่าทันในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิต สิ่งที่คอยประกอบจิต
อันอาการของกาย เวทนา จิต ธรรม ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นหากจะกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็คือ อาการของจิตที่เกิดขึ้น กับ เหตุปัจจัยที่ทำให้จิตเกิด การฝึกเจริญสติก็คือ ฝึกจิตให้รู้เท่าทันการเกิดของจิต อาการของจิต กับเหตุปัจจัยที่ทำให้จิตเกิด
ชื่อและหัวข้อของฐานต่างๆ ของสติปัฏฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น คือ ฐานที่เราสามารถนำไปใช้ฝึกจิตให้เกิดกำลังสติขึ้นมาได้ แต่การที่จะนำไปใช้ฝึกนั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ทุกฐาน
ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการรู้เท่าทันในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิต และสิ่งที่คอยประกอบจิต อันได้แก่
  • นีวรณบรรพ สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้เกิดสมาธิ คือ นีวรณ์ 5 คือ ความยินดีในกาม ความพยาบาท ความหดหู่เซื่องซึมง่วงนอน ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความลังเลสังสัย
  • ขันธบรรพ ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
  • อายตนบรรพ อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
  • สัจจบรรพ อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  • โพชฌงคบรรพ สิ่งที่เป็นเครื่องแห่งการตรัสรู้ 7 ประการ คือ สติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
ฐานที่สำคัญจริงๆ ที่เราจะใช้ฝึก ก็คือ ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน อายตนะบรรพ เหตุที่อายตนะบรรพมีความสำคัญ ก็เพราะ จิตก็ดี ความทุกข์ก็ดี ล้วนอาศัย อายตนะเป็นแดนเกิด
ความเกิด-ดับ
การเจริญสติจึงจำเป็นที่เราต้องฝึกเจริญสติที่อายตนะ เพื่อให้จิตรู้เท่าทันการกระทบผัสสะ การรู้เท่าทันนี้ก็คือให้รู้เท่าทันภาวะของความนิ่งที่จิตไปติดอยู่กับขันธ์ห้า ให้รู้เท่าทันในอาการที่เราเคยเห็นว่าเป็นความนิ่งนั้น แท้จริงแล้วมันเป็นความเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลาย ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่เกิดดับต่อเนื่อง แอบแฝง ซ้อน ซ่อนเร้นอยู่ เป็นการเกิดดับที่มีรอบของการเกิดดับเป็นความถี่อยู่ค่าหนึ่ง การที่จิตเรามีสติไม่เท่าทันการเกิดดับที่เกิดขึ้น ก็คือ จิตของเรานั้นมีรอบความถี่ที่ต่ำกว่ารอบความถี่ดังกล่าว หรือกล่าวได้อีกประการหนึ่ง คือ จิตเรามีความสามารถไม่พอที่จะแยกแยะสิ่งที่เกิดดับให้เห็นเป็นการเกิดดับ เราตามความเร็วที่มันเกิดดับไม่ทัน เมื่อจิตเราช้ากว่า และต่ำกว่า สิ่งที่กำลังเกิดดับ เราจึงไม่สามารถเห็นการเกิดดับของมันได้ เราจึงจะเห็นมันเป็นภาวะที่นิ่งแทน
ยกตัวอย่างเช่น ภาพจากจอโทรทัศน์ ที่เราเห็นเป็นภาพที่ต่อเนื่องนั้น จริงๆ แล้วมันไม่ได้เป็นภาพที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มันเป็นภาพที่ถูกยิงออกมาจาก ปืนยิงอิเลคตรอนจากหลอดรังสีคาโทดที่อยู่หลังจอภาพ ซึ่งเป็นภาพที่ถูกยิงออกมาด้วยความเร็วและความถี่ที่สูงมาก จอโทรทัศน์ปกติจะมีความถี่ของการสร้างภาพ อยู่ที่ 50 ภาพต่อวินาที โทรทัศน์ที่มีคุณภาพดีก็จะมีความถี่ของการสร้างภาพสูงขึ้นไป เช่น 100 ภาพต่อวินาทีเป็นต้น ยิ่งมีความถี่สูงมากเท่าไร ภาพที่ปรากฏบนจอก็จะนิ่งสมจริงไม่สั่นไหวเท่านั้น แม้ความจริงมันคือภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาทีละภาพเป็นจังหวะ เกิด ดับ เกิด ดับ แต่เราก็จะไม่สามารถเห็นว่ามันเกิดดับ เพราะความสามารถของประสาทตาในการแยกภาพของเรา ต่ำกว่าและช้ากว่าจังหวะการสร้างภาพของมัน เราจึงเห็นภาพจากจอเป็นภาพที่ต่อเนื่อง หากเราต้องการจะให้เห็นมันเป็นภาพที่เกิด ดับ คือ สว่าง มืด สว่าง มืด สลับกันไป เราก็จะต้องปรับจังหวะของการสร้างภาพให้ช้าลง จนตาเราสามารถแยกออกได้ว่ามันเป็นภาพที่เกิด ดับ ต่อเนื่องกันอยู่ หรือไม่เราก็พัฒนาประสาทตาของเราให้มีคุณภาพสูงขึ้นจนสามารถมองเห็นการเกิดดับที่เกิดขึ้นได้ หรือไม่ก็ใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน
ในกรณีแสงสว่างที่เกิดขึ้นจากหลอดไฟนีออนก็เช่นกัน แสงสว่างที่เราเห็นเป็นความสว่างที่นิ่งต่อเนื่องนั้น จริงๆ แล้ว มันก็ไม่ได้เป็นความสว่างที่นิ่งต่อเนื่อง แต่มันเป็นแสงสว่างที่เกิดดับด้วยความเร็วที่สูงมาก อันเกิดจากไฟฟ้ากระแสสลับ แต่เราก็จะไม่เห็นว่ามันเกิดดับเพราะประสาทตาเราแยกไม่ทัน เราจะไปเห็นว่าแสงไฟมันเกิดดับก็ตอนที่หลอดไฟเริ่มเสื่อมคุณภาพคือมันจะมีรอบความถี่เกิดดับช้าลงจนประสาทตาเราจับมันได้ว่าแสงไฟจากหลอดกระพริบถี่ๆ แสงมีความสั่นไหว ตั้งแต่สั่นไหวเล็กน้อย จนสั่นไหวมากคือเห็นเป็นการเกิดดับ เกิดดับ แสงไฟที่ออกมาก็จะไม่ต่อเนื่องอีกต่อไป เราก็จะต้องเปลี่ยนหลอดใหม่
ในเรื่องความเร็วของสติกับผัสสะที่เกิดขึ้นตามอายตนะของเรานั้นมันเป็นเรื่องของความเร็วสัมพัทธ์ คือ เหมือนกับตอนนี้เราขับรถด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีรถอีกคันหนึ่งกำลังขับด้วยความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอยู่ข้างหน้าเรา เราก็จะเห็นรถคันข้างหน้าวิ่งนำหน้าไปด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากเราไม่ต้องการให้รถคันหน้าหนีห่างจากเราไปอีกเรื่อยๆ เราก็จะต้องขับด้วยความเร็วอย่างน้อย 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเช่นกัน เราก็จะเห็นรถคันหน้าวิ่งไปด้วยความเร็วที่เทียบกับรถเรา เป็น 0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือ ไม่เห็นเขาเคลื่อนห่างจากเราไป หากเราฝึกจิตจนสติมีความเร็ว เหมือนกับเราเห็นรถที่อยู่ข้างหน้าเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วเท่ากับ 0 เมื่อเทียบกับความเร็วของรถเรา ก็แสดงว่า ความเร็วของจิตเราเริ่มเท่าทันผัสสะที่ เกิด ดับ ขึ้นที่อายตนะแล้ว แต่การฝึกสติไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเท่านี้ การฝึกจิตนั้นเราจะต้องเพิ่มความเร็วของสติให้เหมือนกับการเพิ่มความเร็วของรถให้เร็วมากกว่า 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สมมุติว่าเราเพิ่มความเร็วเป็น 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เราก็จะเห็นรถของเขา วิ่งช้ากว่าเรา 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและเราก็จะเข้าใกล้รถเขาไปเรื่อยๆ จนรถของเรากับของเขาวิ่งมาอยู่ในระดับที่เสมอกัน ในขณะที่อยู่ในระดับเดียวกัน เรากับเขาต่างจะเห็นกันวิ่งด้วยความเร็ว 0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อถึงจุดนี้เปรียบเหมือน จิตเรารู้เท่าทันปรากฏการณ์จริงๆ เกิดอะไรขึ้นก็เห็นปฏิกิริยาขั้นตอนของมันหมด เป็นภาวะที่จิตเรามีกำลังสติเต็มที่ เรียกว่า มีสติเต็มรอบ ซึ่งด้วยกำลังที่เต็มที่เช่นนี้ จิตเราก็พร้อมที่จะเร็วกว่าการเกิดดับของผัสสะ เหมือนกับรถที่พร้อมที่จะวิ่งแซงนำขึ้นไป หากเมื่อใดที่รถเราเริ่มแซงขึ้นหน้านำไป ก็เหมือนกับจิตเราจะอยู่เหนือปรากฏการณ์ของผัสสะ ที่ เกิด ดับ ขึ้นทันที แต่ในขณะที่รถของเรากำลังวิ่งไปนั้นสิ่งที่คอยจะทำให้รถเราวิ่งช้าลงก็มีอยู่ เช่น น้ำหนักรถ น้ำหนักของสัมภาระ ความขรุขระของถนน ลมที่พัดมาปะทะรถ ซึ่งจะคอยเป็นแรงเสียดทานให้ความเร็วรถของเราลดลง หากกำลังของรถเอาชนะมันไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ก็เปรียบเหมือน อนุสัยกิเลส ที่คอยจะดึงจิตเราไว้ ไม่ให้จิตเรารู้เท่าทันหรือเหนือกว่าการเกิดดับของผัสสะ ซึ่งเราก็จะต้องชนะมันด้วยกำลังสติที่เหนือกว่า และต้องคอยลดถอนกำลังของพวกอนุสัยนี้ลง
ดังนั้นการฝึกเจริญสติที่อายตนะ ก็ฝึกเพื่อให้จิตมี ความถี่ มีความเร็ว ที่เท่าทัน ความถี่และความเร็วตามธรรมชาติของการเกิด ดับ ของผัสสะที่เกิดขึ้นตามอายตนะ เมื่อเท่าทันแล้ว ก็จะเห็นผัสสะที่เกิดขึ้นเป็น การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลาย เกิด ดับ สลับต่อเนื่องกันไป ไม่เห็นเป็นตัวตนที่ถาวร ไม่เห็นเป็นภาวะที่นิ่งอีก เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วจิตก็จะไม่หลงเข้าไปยึดเกาะพลังงานที่เกิดขึ้น จะปล่อยพลังงานที่เกิดขึ้นสลายตัวไปตามธรรมชาติ อนุสัยที่จะคอยมาดึงและปรุงแต่งพลังงานให้เป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็จะมาดึงไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ทุกข์ก็จะเกิดไม่ได้ ทุกข์จะดับไปตามสติที่เรารู้เท่าทัน การเจริญสตินี้จะเป็นการดับทุกข์ในเวลาปัจจุบัน เป็นปัจจุบันขณะ ไม่ได้หลบเข้าไปในอารมณ์ของฌานที่ลึก หรือหลบเข้าไปในภาวะจิตที่ดับสัญญาเวทนา อันเป็นภาวะจิตที่อยู่ลึก จิตดับไปไม่รับรู้สิ่งใด การเจริญสติจึงเป็นการดับทุกข์ที่เหตุของมัน เมื่อดับเหตุได้ผลมันก็ดับตาม ดับเหตุไปเรื่อยๆ เกิดเหตุตรงไหน ที่ตา ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ เกิดตรงไหนเราก็ดับตรงนั้น เหตุดับ ผลดับไปเรื่อยๆ การดับทุกข์ด้วยการเจริญสติเช่นนี้ ก็คือ นิโรธ เป็นความดับทุกข์ในความหมายของอริยสัจสี่ เพราะมันจะนำไปสู่มรรค
ไตรลักษณ์ 3 อริยสัจ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 6
ไตรลักษณ์ 3 อริยสัจ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 6 มีความสัมพันธ์กันดังนี้
อริยสัจ 4 ประกอบด้วยขั้นตอนการฝึกจิต และเป็นความจริง 4 ประการ คือ
ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ดำรงอยู่ได้ยาก เป็นความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ การจะฝึกจิต ให้พัฒนาขึ้นมานั้น ผู้ฝึกควรมีแรงผลักดันจากการเห็นความทุกข์ที่แอบแฝงในชีวิตตนเอง ยิ่งสามารถตระหนักเห็นทุกข์ได้มากเท่าไร ก็จะส่งผลให้การฝึกจิตพัฒนาขึ้นเท่านั้น
สมุทัย คือ สาเหตุของทุกข์ อันเกิดจาก จิตไม่รู้เท่าทันการเกิดขึ้นของจิต เมื่อเกิดการกระทบ ผัสสะ ขึ้นที่อายตนะทั้ง 6 คือ ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดการปรุงแต่งเป็นขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วจิตก็มายึดเกาะขันธ์ 5 เกิดอุปาทานว่าขันธ์ 5 เป็นของจริง นิ่ง และเที่ยง และในขณะเดียวกัน ขันธ์ที่เกิดมาก่อนหน้าก็มีแรงดึงคอยรัดจิตไว้ให้มายึดเกาะขันธ์เช่นกัน การจะฝึกจิตให้พัฒนาขึ้นมานั้น ผู้ฝึกควรมีแรงผลักดันจากการเห็นสาเหตุของความทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตของตนเอง ยิ่งสามารถเห็นและเข้าใจสาเหตุทุกข์ได้มากเท่าไร ก็จะส่งผลให้การฝึกจิตพัฒนาขึ้นเท่านั้น
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ โดยการเจริญสติ ฝึกจิตให้มีสติรู้เท่าทันการกระทบผัสสะที่เกิดขึ้นตามอายตนะ เพื่อให้เห็นภาวะของขันธ์ที่เกิดขึ้นตามอายตนะเป็น ไตรลักษณ์ 3 ประการ ได้แก่ อนิจจัง คือ ไม่เที่ยง ทุกขัง คือ เป็นทุกข์ ดำรงอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ยึดถือเอาไม่ได้ อนัตตา ไม่มีตัวตนถาวร เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วจิตก็จะไม่หลงเข้าไปยึดเกาะขันธ์ที่เกิดขึ้น ทุกข์ก็จะดับไปตามสติที่เรารู้เท่าทัน เป็นปัจจุบันขณะไปเรื่อยๆ
ผลจากการฝึกสติเช่นนี้ จิตเราจะเกิดปัญญารู้เท่าทันการกระทบผัสสะ และรู้เท่าทันขันธ์ 5 สามารถดับทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ เกิดผัสสะขึ้นมาเมื่อไร สติก็ดับเหตุที่กระทบนั้น ผลที่มันจะเกิดเป็นความทุกข์ก็ถูกดับไปได้เรื่อยๆ เมื่อฝึกฝนมากขึ้นกำลังสติก็เพิ่มขึ้น จนมีรอบของความถี่และความเร็วของสติ มากกว่า รอบของความถี่และความเร็วของผัสสะ จิตเราจะเกิดปัญญาอยู่เหนือ ผัสสะ และขันธ์ 5 และจะมีปัญญาอยู่เหนือทุกข์ เป็นภาวะที่จิตกับขันธ์แยกตัวออกจากกัน เมื่อฝึกมากขึ้นอีกกำลังสติก็จะเพิ่มขึ้นอีก จนกำลังสติที่เกิดขึ้นจะมากกว่าแรงดึงจากขันธ์ที่จะคอยมาดึงจิตให้ไปรวมกับขันธ์ จิตเราจะมีปัญญาปล่อยวางขันธ์ 5 ได้ และจะมีปัญญาปล่อยวางทุกข์ได้ เมื่อจิตปล่อยวางขันธ์ 5 ได้ ก็จะหลุดพ้นจากขันธ์ 5 เราก็จะได้เห็น มรรค
มรรค คือ ความพ้นทุกข์ หรือ ทางพ้นทุกข์ อันเป็นผลจากการที่เราปล่อยวางขันธ์ 5 ได้ เมื่อเราปล่อยวางจากขันธ์ 5 ได้ จิตเราก็จะหลุดพ้นจากขันธ์ 5 เราจะได้เห็น ทาง หรือ มรรค มรรคก็คือสภาวะของจิตเดิมที่เป็นธรรมชาติ ธรรมชาติเดิมที่ยังไม่ถูกขันธ์ 5
ครอบงำ การที่จิตหลุดออกมาจากขันธ์นี้ เรียกว่า วิมุตติ จิตหลุดพ้นมีดวงตาเห็นธรรม
วิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นการฝึกเจริญสติปัฏฐาน เป็นการฝึกสติโดยใช้อายตนะเป็นฐานที่ใช้ฝึกเพื่อให้รู้เท่าทันการกระทบผัสสะ เพื่อดับทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะ เป็นการดับทุกข์ หรือ นิโรธ ในความหมายของการดับทุกข์อริยสัจ 4 เพื่อให้จิตได้พบกับ มรรค พ้นทุกข์จากขันธ์ 5
ระดับพลังของจิตที่เหมาะสมในการฝึกสติ
ในการที่จะฝึกสติ ที่จะเป็นสติปัฏฐานจนสามารถดับทุกข์ได้นั้น องค์ประกอบที่ทำให้เกิดสติปัฏฐาน ก็คือ ระดับพลังของจิตที่เหมาะสม และกระบวนการที่ใช้ฝึกที่ถูกต้อง ระดับของพลังจิตนั้น มีทั้ง ระดับจิตที่เป็นภาวะปกติไม่ถึงฌาน กับระดับจิตที่ถึงฌาน อันเกิดขึ้นจากการฝึกจิตให้สงบด้วยวิธีสมถกรรมฐาน ระดับจิตที่เกิดขึ้น ก็มีอยู่ สี่ระดับใหญ่ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
เมื่อพิจารณาระดับจิต ระดับต่างๆ เราจะเห็นว่าระดับจิตที่อยู่กับขันธ์ 5 คือ ความนึกคิด ความรู้สึก อารมณ์ จิตก็จะหยาบเกินไปไม่สงบ มีสิ่งขัดขวางกั้นบังจิต จิตไม่มีกำลังพอที่จะเท่าทันผัสสะได้
  • หากจิตอยู่ในจตุตถฌาน อยู่กับความว่าง ก็พิจารณาอะไรไม่ได้ อยู่ข้างในเกินไปไม่รับรู้สภาพภายนอก
  • หากจิตอยู่ในตติยฌาน อยู่กับสุข ก็พิจารณาอะไรไม่ได้อีก ยังอยู่ข้างในเกินไปไม่รับรู้สภาพภายนอก
  • หากจิตอยู่ในทุติยฌาน อยู่กับปีติ ก็พิจารณาอะไรไม่ได้อีก แม้จะอยู่ใกล้สภาพภายนอกก็ตาม เพราะสภาพรู้ถูกบิดเบือนด้วยคลื่นแรงโน้มถ่วง จากจุดศูนย์กลางใจ
  • หากจิตอยู่ที่ปฐมฌาน อยู่กับวิตก วิจารณ์ หรือ ความนึกคิดที่เบาบาง จนถึงขั้นวิตกวิจารณ์ดับไป ก็จะเป็นภาวะจิตที่เรายังสามารถพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ เพราะไม่อยู่ข้างในใจเกินไป จนจิตละเอียด ไม่รับรู้สภาพภายนอก และไม่อยู่ข้างนอกเกินไปจนจิตหยาบ ถูกขันธ์ 5 บังไปหมด
ปฐมฌานจึงเป็นระดับจิตที่เหมาะแก่การฝึกเจริญสติ เพราะเป็นระดับจิตที่สมดุลย์ ระหว่างความไม่สงบ กับความสงบ เป็นภาวะจิตที่เราสามารถรู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของการกระทบผัสสะ และของขันธ์ ที่เคยเห็นเป็นภาวะที่นิ่ง จะสามารถเห็นเป็นความเคลื่อนไหวเกิด ดับ ที่เกิด ดับ ต่อเนื่องได้ นอกจากภาวะของปฐมฌานที่สามารถจะเห็นการเกิดดับของผัสสะได้แล้ว ภาวะของฌานที่เกิดขึ้นยังไปทำให้กระบวนการของการเกิดดับของผัสสะช้าลง ทำให้เห็นการเกิดดับได้ง่ายขึ้น เมื่อจิตอยู่ในระดับจิตปฐมฌานนี้ หากเราเลื่อนความรู้สึกไปตั้งไว้ที่ฐานไหนในอายตนะทั้ง 6 ก็จะสามารถเห็นการเกิดดับและรู้เท่าทันผัสสะที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ปฐมฌาน จึงเป็นระดับจิตที่เหมาะสมที่เราจะนำไปใช้ฝึกจิตในขั้นวิปัสสนากรรมฐาน