1/6/11

พร 4ประการของท่าน ว.วชิรเมธี

1. อย่าเป็นนักจับผิด
คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก
คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส จิตประภัสสร ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข
2. อย่ามัวแต่คิดริษยา
แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน
คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า เจ้ากรรมนายเวร ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้องถอดถอน
ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น ‘ไฟสุมขอน’ ( ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน
เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี ‘แผ่เมตตา’ หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป
3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ ‘ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น’
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ ‘อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน’
‘อยู่กับปัจจุบันให้เป็น’ ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี ‘สติ’ กำกับตลอดเวลา
4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
‘ตัณหา’ ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ ‘ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม’
ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลาไม่ใช่มีไว้ใส่เพื่อความโก้หรู
คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์
เราต้องถามตัวเองว่า ‘เกิดมาทำไม’ ‘คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน’ ตามหา ‘แก่น’ ของชีวิตให้เจอ
คำว่า ‘พอดี’ คือ ถ้า ‘พอ’ แล้วจะ ‘ดี’ รู้จัก ‘พอ’ จะมีชีวิตอย่างมีความสุข
แหล่งที่มา : http://psomeasy.blogspot.com/2008/10/4.html

1/4/11

อานิสงส์ของการสวดมนต์แต่ละบท

จากหนังสือ แสกนกรรม2


พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากา อิติปิโสเท่าอายุ+1 การสวดมนต์บทนี้มีความหมายว่าจะชนะอุปสรรคทั้งภายในจิตใจและภายนอกคือชนะอุปสรรคต่อหน้าที่การงาน ศัตรูหมู่มารและทำให้ชีวิตราบรื่นต่ออุปสรรคและการสวดมนต์ อิติปิโสเท่าอายุ+1 นั้นทำให้ต่อชะตาชีวิตและผ่านวิบากกรรมที่ได้รับให้เบาบางลงได้


ชินบัญชร ทำให้ใบหน้า วาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดจาน่าเชื่อถือ เจรจาดี มีคนเมตตา มีคนเกื้อกูลดีมีบริวารมากมาย


สวดพระไตรปิฏก ทำให้เป็นผู้มีสติ ปัญญาดี จิตมีสมาธิสูง ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง


สวดพระธัมมะจัก ทำให้เคราะห์กรมหนัก เวรกรรมหนัก ๆ ทุเลาลงและทำให้อาการเจ็บไข้ได้ป่วยหายได้ และสามารถล้างอาถรรพ์คุณไสยมนต์ดำได้ โรคภัยทุเลาเบาบาง


สวดพระอาการวัตตาสูตร  ทำให้จิตมีสมาธิสูง เข้าสู่สมาธิได้ง่ายและทำให้เจริญรุ่งเรืองทางด้านทรัพย์ และมีจิตที่สูงกว่ากิเลส

12/26/10

ไม่มีกำลังใจ... ทำอย่างไรดี

ไม่มีกำลังใจ... ทำอย่างไรดี  ท่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังคนอื่นพูดหรือบ่นอยู่เสมอว่า 
ไม่ค่อยมีกำลังใจจะทำอะไรเลย โดยความเป็นจริงแล้ว
มนุษย์เราทุกคนเมื่อเกิดมาย่อมต้องการความรัก ความอบอุ่น ความสุขสมหวัง ความสำเร็จ ความร่ำรวย ตลอดจน ร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็มิใช่ว่าจะประสบกับความสุขสมหวังเสมอไป บางครั้งอาจจะต้องประสบกับความผิดหวัง ในสิ่งที่พึ่งปรารถนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม บางคนก็สามารถ แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ แต่ก็มีหลายรายที่ไม่สามารถปัญหาได้ตามที่คาดหวังไว้

ผู้ที่ขาดกำลังใจนั้น มักจะมีความรู้สึก เบื่อหน่าย ท้อแท้ หดหู่ เซื่องซึม ไม่กระตือรือร้นที่จะกระทำกิจกรรมใดๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านมีความรู้สึกขาดกำลังใจเช่นว่านี้ก็อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ จงพยายามค้นหา ใคร่ครวญ ตรึกตรอง พินิจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความผิดหวังหรือความล้มเหลวนั้นซึ่งสาเหตุของการหมดกำลังใจ มีได้หลายสาเหตุ ได้แก่
1. ด้านร่างกาย อาจจะเป็นเพราะว่าร่างกายไม่สมประกอบ มีโรคประจำตัว เจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถทำงานได้เหมือนผู้อื่น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อจิตใจ ทำให้เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่ายหมดกำลังใจได้
2. ด้านจิตใจ อาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัว คือรู้ตัวว่ามีปัญหาและรู้ว่าปัญหานั้นมีสาเหตุมาจากอะไร แต่ไม่สามารถขจัดหรือแก้ปัญหานั้นได้ จึงเกิดความไม่สบายใจเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่พึงปรารถนา หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว คือไม่รู้ว่าทำไมจึงไม่มีกำลังใจ เงินทองก็มีใช้ ตำแหน่งหน้าที่การงานก็ดี แต่ถ้าเราค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรองดู ก็จะรู้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร สาเหตุอาจจะอยู่ลึกๆ หรือฝังใจมาตั้งแต่เด็กจนเราอาจนึกไม่ถึงก็เป็นได้ เช่น  มีความน้อยเนื้อต่ำใจในรูปร่างของตัวเอง ความไม่ยุติธรรมของพ่อแม่หรืออาจจะรู้สาเหตุแต่ไม่ยอมรับ จึงเกิดอาการท้อแท้ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังใจที่จะปฏิบัติกิจกรรมใดๆ ให้เป็นผลดีได้เท่าที่ควร
3. ด้านสังคม คือ ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจ เมื่อตนทำดีแล้ว แต่ไม่มีใครเห็นความดี เช่น ทำงานมาหลายปี แต่เจ้านายไม่เคยเห็นความดี หรือความสำคัญของตนเลย 
วิธีที่จะทำให้เกิดกำลังใจ  มีดังนี้
1 ก่อนอื่นต้องพยายามหาสาเหตุเสียก่อนว่า การที่เราไม่มีกำลังใจนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร แล้วพยายามหาทางปรับปรุงแก้ไขและยอมรับเสีย
2 อย่าคิดหรือมองว่าตนเองเป็นคนมีปัญหา ไร้ความสามารถ คนอื่นที่เขามีปัญหา ไร้ความสามารถมากกว่าเราก็ยังมีอีกมาก เราต้องมาตั้งใจกระทำใหม่
3 อย่ามัวหมกตัวอยู่คนเดียว ลองพูดคุยกับผู้ที่เราไว้ใจ หรือเชื่อถือ อย่างน้อยก็เป็นการระบาย ความอัดอั้นตันใจของเราได้และเราอาจจะได้รับคำแนะนำ ชี้แนะจากเขาผู้นั้นก็เป็นได้
4 มองโลกในแง่ดี พยายามทำจิตใจให้สดชื่น อะไรต่างๆ ก็จะดูดีขึ้น
5 อ่านหนังสือดีๆ อาจจะได้รับความรู้ สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น และยังทำให้เราเกิดความเพลิดเพลินอีกด้วย
6 ออกกำลังกายตามที่ท่านชอบและถนัด ซึ่งอาจจะทำให้สุขภาพแข็งแรงได้อีกด้วย
7 พยายามอย่าปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป ควรหางานอดิเรกทำ เช่น หัดทำกับข้าว เย็บปักถักร้อย ทำสวนครัว ฯลฯ เพราะอาจจะสนุกไปกับงานเหล่านั้น
8 เมื่อตื่นนอน ควรรีบลุกจากที่นอนทันที ควรมีแผนการทำงานของแต่ละวันและทำงาน ด้วยความกระฉับกระเฉง ตั้งใจที่จะกระทำกิจกรรมต่างๆ อย่างจริงจัง 
จากวิธีที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะทำให้ท่านที่ขาดกำลังใจกลับมีกำลังใจขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะส่งผลทำให้ชีวิต ของคุณมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณบทความจาก http://www.love4home.com/
ขอขอบคุณบทความคุณธาริณี มาลัยมาตร์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์