8/26/10

วิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน)

วิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน)
ที่มา: หนังสือ "สมาธิหมุน จิตวิวัฒน์เพื่อความพ้นทุกข์" เรียบเรียงโดย คุณเกียรติศักดิ์ แสงสุวรรณ
บทเริ่มต้นของการฝึกจิต คือสมถกรรมฐาน เป็นการฝึกจิตให้เกิดความสงบ เพื่อให้จิตมีพลังเพิ่มขึ้น พลังจิตที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เราทราบถึง ระดับพลังของจิตว่ามีกี่ระดับ ตลอดจนคุณสมบัติ คุณประโยชน์ของแต่ละระดับพลังนั้น เพื่อสามารถคัดเลือกระดับพลังจิตที่เหมาะสมไปใช้งานตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้
การนำระดับพลังจิตที่เหมาะสม ไปใช้ศึกษากระบวนการทำงานของจิต ว่าจิตมีกระบวนการทำงานอย่างไร และเมื่อเข้าใจกระบวนการทำงานของจิตแล้ว นำความเข้าใจที่ได้ไปสร้างวิธีการเพื่อฝึกจิต เพื่อพัฒนาจิตจนสามารถเป็นอิสระหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ คือ วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นวิธีการนำพลังจิตที่มีระดับพลังที่เหมาะสม ไปฝึกจิตเพื่อให้จิตพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
อันความทุกข์นั้น เป็นสภาพที่ทนอยู่ด้วยยาก เป็นสภาพที่บีบคั้น ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ตามเหตุปัจจัยที่เข้ามาประกอบ และแม้มันเป็นสิ่งที่ทนอยู่ด้วยยาก แต่จิตเราก็หลุดพ้นออกมาจากมันได้ยากนัก สาเหตุแห่งความทุกข์นั้น เกิดจากจิตไปหลงยึดติดสสารและพลังงาน ตลอดจนความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของทั้งสสารกับพลังงาน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการ เรียกว่า ขันธ์ทั้ง 5
ขันธ์ 5
ขันธ์ทั้ง 5 ได้แก่
  • รูป คือ ร่างกายตัวตน
  • เวทนา คือ ความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉย
  • สัญญา คือ ความจำได้ ระลึกได้ รู้ความหมายของจิตที่เกิดขึ้น
  • สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง หรือเจตนาที่มีต่อจิตที่เกิดขึ้น เป็นความคิดที่เป็นกุศล อกุศล หรือ เป็นกลาง
  • วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นคือ รู้รูป รู้เวทนา รู้สัญญา รู้สังขาร และ รู้ความรู้อารมณ์
สาเหตุของทุกข์นั้น ไม่เพียงแต่จิตเข้าไปยึดติดขันธ์ 5 เท่านั้น ขันธ์ 5 เอง ก็มีแรงดึงจิตให้จิตมายึดติดเช่นกัน
สาเหตุที่จิตไปยึดติดขันธ์ 5 ก็เพราะ จิตไม่รู้ถึงกระบวนการที่จิตไปยึดติดขันธ์ ว่ายึดติดไปได้อย่างไร และก็ไม่รู้กลไกการทำงานของจิตเองด้วย การจะออกจากขันธ์ 5 นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้กระบวนการของมัน หากไม่รู้กระบวนการที่เกิดขึ้นกับทั้งเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาประกอบ ก็จะไม่รู้เลยว่าจะออกมาจากขันธ์ได้อย่างไร ซึ่งหากเรารู้กระบวนการของมันเราย่อมจะรู้เท่าทัน ทำให้เรา บริหาร จัดสรร และควบคุมไม่ให้จิตยึดติดกับขันธ์ จนภาวะของความทุกข์เกิดขึ้นแก่เราไม่ได้
ความทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับเรานั้น มันปรากฏขึ้นเป็น ภาวะของความนิ่ง ที่จิตเราไปนิ่ง ยึดติดอยู่กับอาการต่างๆ ของขันธ์ 5 คือ
  • นิ่งอยู่กับ ความรู้สึกว่ามีตัวตนของเราอยู่ , นิ่งอยู่กับความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หนัก เบา
  • นิ่งอยู่กับ ความรู้สึกที่เจ็บปวด
  • นิ่งอยู่กับ ความคิด (จำได้) ถึงเรื่อง อดีต ปรุงแต่งทบทวนเรื่องราวต่างๆ จากอดีต นิ่งอยู่กับ ความนึก (หมายรู้) ถึงเรื่อง อนาคต ปรุงแต่งคำนวณเรื่องราวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • นิ่งอยู่กับ ความรู้อารมณ์ เช่น กลัว กล้า เศร้า เหงา ดีใจ เสียใจ รัก ชัง โกรธ เกลียด สยดสยอง มัวเมา ริษยา อิจฉา โลภ
  • นิ่งรู้อยู่กับ ความรู้สึกว่ามีตัวตนอยู่ รู้ว่ารู้สึก รู้ว่าคิด รู้ว่านึก รู้ว่ารู้อารมณ์
เมื่อจิตเข้าไปนิ่งยึดเกาะอยู่กับภาวะของความทุกข์แล้ว ที่ผ่านมาหากเราไม่รู้วิธีการของวิปัสสนาเราก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้จิตถอนออกมาจากความนิ่งนั้น เราก็พยายามทำให้ความรู้สึกมันเปลี่ยนไปตามวิธีการเท่าที่เรารู้ เท่าที่เรามีประสบการณ์ เท่าที่จิตเราเคยไปถึง เพื่อให้ความรู้สึกมันเปลี่ยนสภาพไป เป็นสภาพที่ทุกข์น้อยกว่าเดิม หรือจนหมดไป วิธีการที่เรารู้จักและทำกันมา คือ
  • ไปเสพกามคุณทั้ง 5 ให้จิตไปรับอารมณ์ที่เป็นสุขจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โดยหวังว่าจะให้กามคุณช่วยระบายความทุกข์ให้ แต่การเสพกามก็ไม่ใช่เป็นการระบายทุกข์ แต่เป็นการไปรับอารมณ์ใหม่เข้าไปทับอารมณ์เก่า กลับจะเพิ่มสิ่งที่จิตยึดเกาะเพิ่มขึ้น
  • เข้าไปอยู่ในอารมณ์ของฌาน อันมี ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน การเข้าฌานนั้นสามารถทำให้ทุกข์นั้นดับหายไปจากความรู้สึกได้จริง แต่ก็ดับได้ในขณะที่อยู่ในฌานเท่านั้นเมื่อออกจากฌานมาทุกข์นั้นก็ยังอยู่ไม่หายไปไหน เพราะการเข้าฌานจัดเป็นวิธีการที่หนีทุกข์ และกดข่มทุกข์ด้วยพลังจิต ไม่ยอมรับสภาพปัจจุบันของทุกข์ที่เกิดขึ้น
การเสพกาม การเข้าฌานล้วนเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น และท่านก็ได้ข้อสรุปว่าไม่สามารถทำให้พ้นจากทุกข์ได้จริง วิธีการที่เราต้องการก็คือ ทำอย่างไรให้เราอยู่กับความทุกข์ที่เกิดขึ้นในสภาพปกติได้ โดยไม่ต้องไปหนีไปไหน ไม่ต้องไปเสพกาม ไปเข้าฌานที่ลึก โดยที่จิตเราก็ไม่เกิดทุกข์ตามความทุกข์ไป วิปัสสนากรรมฐานคือวิธีการที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
หากอาการของจิต ที่เกิดขึ้นจากการฝึกจิตด้วยวิธีสมถกรรมฐาน คือ จิตเกิดกำลังของความสงบในระดับต่างๆ ซึ่งเรียกว่า ฌาน ทำให้จิตเกิดความสุขสงบ สำหรับอาการของจิตที่เกิดขึ้นจากการฝึกจิตด้วยวิธีวิปัสสนากรรมฐาน จะเป็นอาการของจิตที่เรียกว่า สติ จะทำให้จิตมีภาวะที่รู้ตัวทั่วพร้อม และ รู้เท่าทันปรากฏการณ์ เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มกำลังของสติ
สติปัฏฐาน 4
การฝึกสติ ก็มีฐานที่ใช้ฝึกจิตให้เกิดสติอยู่ 4 ฐานด้วยกันคือ ใช้กายเป็นฐาน เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้เวทนาเป็นฐาน เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้อาการของจิตเป็นฐาน เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตเป็นฐาน เรียก ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน
เมื่อเราฝึกจิตให้เกิดสติตามฐานที่ใช้ฝึก สติที่เกิดขึ้นจะมีอยู่สองอาการ สองความหมาย
ที่เราควรพิจารณาและทำความเข้าใจให้ดี คือ สติสัมปชัญญะ และ สติปัฏฐาน
สติสัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นการกำหนดรู้อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามฐานที่ใช้ฝึกสติ คือ
  • พิจารณากาย ก็เกิดความรู้ตัวทั่วพร้อมในอาการของกาย
  • พิจารณาเวทนา กำหนดรู้ในอาการของเวทนา
  • พิจารณาจิต กำหนดรู้ในอาการของจิต 
  • พิจารณาธรรม กำหนดรู้ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิต สิ่งที่คอยประกอบจิต 
ดังนั้น ลักษณะของสติสัมปชัญญะ คือการกำหนดรู้ ในอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย เวทนา จิต ธรรม แต่อาศัยเพียงสติสัมปชัญญะนี้ จิตยังจะไม่พ้นทุกข์ได้ เพราะไปจะติดอยู่กับสภาพรู้ที่เกิดขึ้น กับกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งก็คือ ติดธาตุรู้หรือวิญญาณขันธ์ที่ใจอยู่
การฝึกวิปัสสนากรรมฐานไม่ใช่ฝึกให้เกิดสติสัมปชัญญะ แต่ฝึกเพื่อให้เกิดสติปัฏฐาน โดยอาศัยสติสัมปชัญญะเป็นเครื่องประกอบเพื่อให้เกิดสติปัฏฐาน หากฝึกจิตแล้วจิตยังอยู่กับอาการกำหนดรู้เช่นนี้ยังไม่เรียกว่า เป็นการฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริง
ลักษณะการฝึกสติที่มีการฝึกกันอยู่ทั่วไป ก็จะเป็นลักษณะกำหนดรู้อาการที่เกิดขึ้น แล้วพยายามกำหนดให้ละ ให้คลาย เป็นอาการของสติที่ผู้ฝึกปฏิบัติมักไปติดกัน แล้วเข้าใจว่า เป็นสติปัฏฐาน ผลที่เกิดขึ้นการจากฝึก สภาพจิตมันก็เปลี่ยนไปเหมือนกัน คือ จากที่มันไปติดสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ มันก็เปลี่ยนมาติดตัวรู้ว่าทุกข์แทน เมื่อทำมากๆ จิตจะเบื่อหน่ายกับสภาพรู้จากการกำหนดรู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนไม่อยากรับรู้อีก กำหนดรู้จนจิตหมดกำลัง เกิดเป็นสภาพดับไปในที่สุด ลักษณะของสภาพที่ดับไปนี้ สัญญาเวทนาจะดับหมด ความรู้ตัวทั่วพร้อมหมดไป จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร เป็นอะไร อยู่ในช่วงเวลาไหนยุคไหน ช่วงเวลาและเหตุการณ์ก่อนที่จะดับ และหลังดับจะไม่ต่อเนื่องกัน อยู่ๆ ก็ดับหายไปไหนก็ไม่รู้ ดับไปอย่างไรก็ไม่รู้ พอดับเต็มที่แล้ว ธาตุรู้ทำงาน สัญญาเวทนาทำงาน ก็เกิดโผล่ขึ้นมาจากไหนก็ไม่รู้อีก ช่วงเวลาที่ดับไปนั้นเราก็ไม่รู้ว่าดับไปนานเท่าไร เป็นสภาพที่ไม่มีความจำ ไม่มีความรู้สึก เราก็เลยจำสภาพดับไม่ได้ จะจำได้ก็เพียงว่า มันดับมืด และเรียบลื่นไปหมด ไม่มีสันญาณคลื่นพลังใดเลยในสภาพที่ดับนั้น
สภาพที่ดับนี้ก็มีการเข้าใจกันว่า คือ การบรรลุธรรม แท้จริงเป็นสภาพที่จิตต้องการพักผ่อนจากการที่ไม่อยากรับอารมณ์ภายนอก หลบเข้าไปในภาวะจิตที่ลึกที่สุด จัดเป็นลักษณะการเข้าฌานอย่างหนึ่ง คือ ไม่รับอารมณ์ภายนอก หลบหนีจากสภาพปัจจุบัน โดยใช้การดับข่มไว้ สภาพดับนี้เป็นการดับ ของสัญญาเวทนา เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นนิโรธสมาบัติ ซึ่งเป็นคนละความหมาย กับนิโรธ ในอริยสัจสี่ นิโรธในอริยสัจสี่ ก็คือ การเจริญสติปัฏฐาน
สติปัฏฐาน คือ ฐานที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ เพื่อฝึกจิตให้มีสติรู้เท่าทัน เห็นตามสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นตามฐานที่ใช้ฝึก ฐานที่ใช้ฝึกก็ได้แก่
  • กาย ให้เกิดความรู้เท่าทันในอาการของกาย
  • เวทนา รู้เท่าทันอาการของเวทนา
  • จิต รู้เท่าทันในอาการของจิต
  • ธรรม รู้เท่าทันในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิต สิ่งที่คอยประกอบจิต
อันอาการของกาย เวทนา จิต ธรรม ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นหากจะกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็คือ อาการของจิตที่เกิดขึ้น กับ เหตุปัจจัยที่ทำให้จิตเกิด การฝึกเจริญสติก็คือ ฝึกจิตให้รู้เท่าทันการเกิดของจิต อาการของจิต กับเหตุปัจจัยที่ทำให้จิตเกิด
ชื่อและหัวข้อของฐานต่างๆ ของสติปัฏฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น คือ ฐานที่เราสามารถนำไปใช้ฝึกจิตให้เกิดกำลังสติขึ้นมาได้ แต่การที่จะนำไปใช้ฝึกนั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ทุกฐาน
ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการรู้เท่าทันในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิต และสิ่งที่คอยประกอบจิต อันได้แก่
  • นีวรณบรรพ สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้เกิดสมาธิ คือ นีวรณ์ 5 คือ ความยินดีในกาม ความพยาบาท ความหดหู่เซื่องซึมง่วงนอน ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความลังเลสังสัย
  • ขันธบรรพ ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
  • อายตนบรรพ อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
  • สัจจบรรพ อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  • โพชฌงคบรรพ สิ่งที่เป็นเครื่องแห่งการตรัสรู้ 7 ประการ คือ สติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
ฐานที่สำคัญจริงๆ ที่เราจะใช้ฝึก ก็คือ ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน อายตนะบรรพ เหตุที่อายตนะบรรพมีความสำคัญ ก็เพราะ จิตก็ดี ความทุกข์ก็ดี ล้วนอาศัย อายตนะเป็นแดนเกิด
ความเกิด-ดับ
การเจริญสติจึงจำเป็นที่เราต้องฝึกเจริญสติที่อายตนะ เพื่อให้จิตรู้เท่าทันการกระทบผัสสะ การรู้เท่าทันนี้ก็คือให้รู้เท่าทันภาวะของความนิ่งที่จิตไปติดอยู่กับขันธ์ห้า ให้รู้เท่าทันในอาการที่เราเคยเห็นว่าเป็นความนิ่งนั้น แท้จริงแล้วมันเป็นความเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลาย ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่เกิดดับต่อเนื่อง แอบแฝง ซ้อน ซ่อนเร้นอยู่ เป็นการเกิดดับที่มีรอบของการเกิดดับเป็นความถี่อยู่ค่าหนึ่ง การที่จิตเรามีสติไม่เท่าทันการเกิดดับที่เกิดขึ้น ก็คือ จิตของเรานั้นมีรอบความถี่ที่ต่ำกว่ารอบความถี่ดังกล่าว หรือกล่าวได้อีกประการหนึ่ง คือ จิตเรามีความสามารถไม่พอที่จะแยกแยะสิ่งที่เกิดดับให้เห็นเป็นการเกิดดับ เราตามความเร็วที่มันเกิดดับไม่ทัน เมื่อจิตเราช้ากว่า และต่ำกว่า สิ่งที่กำลังเกิดดับ เราจึงไม่สามารถเห็นการเกิดดับของมันได้ เราจึงจะเห็นมันเป็นภาวะที่นิ่งแทน
ยกตัวอย่างเช่น ภาพจากจอโทรทัศน์ ที่เราเห็นเป็นภาพที่ต่อเนื่องนั้น จริงๆ แล้วมันไม่ได้เป็นภาพที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มันเป็นภาพที่ถูกยิงออกมาจาก ปืนยิงอิเลคตรอนจากหลอดรังสีคาโทดที่อยู่หลังจอภาพ ซึ่งเป็นภาพที่ถูกยิงออกมาด้วยความเร็วและความถี่ที่สูงมาก จอโทรทัศน์ปกติจะมีความถี่ของการสร้างภาพ อยู่ที่ 50 ภาพต่อวินาที โทรทัศน์ที่มีคุณภาพดีก็จะมีความถี่ของการสร้างภาพสูงขึ้นไป เช่น 100 ภาพต่อวินาทีเป็นต้น ยิ่งมีความถี่สูงมากเท่าไร ภาพที่ปรากฏบนจอก็จะนิ่งสมจริงไม่สั่นไหวเท่านั้น แม้ความจริงมันคือภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาทีละภาพเป็นจังหวะ เกิด ดับ เกิด ดับ แต่เราก็จะไม่สามารถเห็นว่ามันเกิดดับ เพราะความสามารถของประสาทตาในการแยกภาพของเรา ต่ำกว่าและช้ากว่าจังหวะการสร้างภาพของมัน เราจึงเห็นภาพจากจอเป็นภาพที่ต่อเนื่อง หากเราต้องการจะให้เห็นมันเป็นภาพที่เกิด ดับ คือ สว่าง มืด สว่าง มืด สลับกันไป เราก็จะต้องปรับจังหวะของการสร้างภาพให้ช้าลง จนตาเราสามารถแยกออกได้ว่ามันเป็นภาพที่เกิด ดับ ต่อเนื่องกันอยู่ หรือไม่เราก็พัฒนาประสาทตาของเราให้มีคุณภาพสูงขึ้นจนสามารถมองเห็นการเกิดดับที่เกิดขึ้นได้ หรือไม่ก็ใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน
ในกรณีแสงสว่างที่เกิดขึ้นจากหลอดไฟนีออนก็เช่นกัน แสงสว่างที่เราเห็นเป็นความสว่างที่นิ่งต่อเนื่องนั้น จริงๆ แล้ว มันก็ไม่ได้เป็นความสว่างที่นิ่งต่อเนื่อง แต่มันเป็นแสงสว่างที่เกิดดับด้วยความเร็วที่สูงมาก อันเกิดจากไฟฟ้ากระแสสลับ แต่เราก็จะไม่เห็นว่ามันเกิดดับเพราะประสาทตาเราแยกไม่ทัน เราจะไปเห็นว่าแสงไฟมันเกิดดับก็ตอนที่หลอดไฟเริ่มเสื่อมคุณภาพคือมันจะมีรอบความถี่เกิดดับช้าลงจนประสาทตาเราจับมันได้ว่าแสงไฟจากหลอดกระพริบถี่ๆ แสงมีความสั่นไหว ตั้งแต่สั่นไหวเล็กน้อย จนสั่นไหวมากคือเห็นเป็นการเกิดดับ เกิดดับ แสงไฟที่ออกมาก็จะไม่ต่อเนื่องอีกต่อไป เราก็จะต้องเปลี่ยนหลอดใหม่
ในเรื่องความเร็วของสติกับผัสสะที่เกิดขึ้นตามอายตนะของเรานั้นมันเป็นเรื่องของความเร็วสัมพัทธ์ คือ เหมือนกับตอนนี้เราขับรถด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีรถอีกคันหนึ่งกำลังขับด้วยความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอยู่ข้างหน้าเรา เราก็จะเห็นรถคันข้างหน้าวิ่งนำหน้าไปด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากเราไม่ต้องการให้รถคันหน้าหนีห่างจากเราไปอีกเรื่อยๆ เราก็จะต้องขับด้วยความเร็วอย่างน้อย 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเช่นกัน เราก็จะเห็นรถคันหน้าวิ่งไปด้วยความเร็วที่เทียบกับรถเรา เป็น 0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือ ไม่เห็นเขาเคลื่อนห่างจากเราไป หากเราฝึกจิตจนสติมีความเร็ว เหมือนกับเราเห็นรถที่อยู่ข้างหน้าเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วเท่ากับ 0 เมื่อเทียบกับความเร็วของรถเรา ก็แสดงว่า ความเร็วของจิตเราเริ่มเท่าทันผัสสะที่ เกิด ดับ ขึ้นที่อายตนะแล้ว แต่การฝึกสติไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเท่านี้ การฝึกจิตนั้นเราจะต้องเพิ่มความเร็วของสติให้เหมือนกับการเพิ่มความเร็วของรถให้เร็วมากกว่า 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สมมุติว่าเราเพิ่มความเร็วเป็น 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เราก็จะเห็นรถของเขา วิ่งช้ากว่าเรา 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและเราก็จะเข้าใกล้รถเขาไปเรื่อยๆ จนรถของเรากับของเขาวิ่งมาอยู่ในระดับที่เสมอกัน ในขณะที่อยู่ในระดับเดียวกัน เรากับเขาต่างจะเห็นกันวิ่งด้วยความเร็ว 0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อถึงจุดนี้เปรียบเหมือน จิตเรารู้เท่าทันปรากฏการณ์จริงๆ เกิดอะไรขึ้นก็เห็นปฏิกิริยาขั้นตอนของมันหมด เป็นภาวะที่จิตเรามีกำลังสติเต็มที่ เรียกว่า มีสติเต็มรอบ ซึ่งด้วยกำลังที่เต็มที่เช่นนี้ จิตเราก็พร้อมที่จะเร็วกว่าการเกิดดับของผัสสะ เหมือนกับรถที่พร้อมที่จะวิ่งแซงนำขึ้นไป หากเมื่อใดที่รถเราเริ่มแซงขึ้นหน้านำไป ก็เหมือนกับจิตเราจะอยู่เหนือปรากฏการณ์ของผัสสะ ที่ เกิด ดับ ขึ้นทันที แต่ในขณะที่รถของเรากำลังวิ่งไปนั้นสิ่งที่คอยจะทำให้รถเราวิ่งช้าลงก็มีอยู่ เช่น น้ำหนักรถ น้ำหนักของสัมภาระ ความขรุขระของถนน ลมที่พัดมาปะทะรถ ซึ่งจะคอยเป็นแรงเสียดทานให้ความเร็วรถของเราลดลง หากกำลังของรถเอาชนะมันไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ก็เปรียบเหมือน อนุสัยกิเลส ที่คอยจะดึงจิตเราไว้ ไม่ให้จิตเรารู้เท่าทันหรือเหนือกว่าการเกิดดับของผัสสะ ซึ่งเราก็จะต้องชนะมันด้วยกำลังสติที่เหนือกว่า และต้องคอยลดถอนกำลังของพวกอนุสัยนี้ลง
ดังนั้นการฝึกเจริญสติที่อายตนะ ก็ฝึกเพื่อให้จิตมี ความถี่ มีความเร็ว ที่เท่าทัน ความถี่และความเร็วตามธรรมชาติของการเกิด ดับ ของผัสสะที่เกิดขึ้นตามอายตนะ เมื่อเท่าทันแล้ว ก็จะเห็นผัสสะที่เกิดขึ้นเป็น การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลาย เกิด ดับ สลับต่อเนื่องกันไป ไม่เห็นเป็นตัวตนที่ถาวร ไม่เห็นเป็นภาวะที่นิ่งอีก เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วจิตก็จะไม่หลงเข้าไปยึดเกาะพลังงานที่เกิดขึ้น จะปล่อยพลังงานที่เกิดขึ้นสลายตัวไปตามธรรมชาติ อนุสัยที่จะคอยมาดึงและปรุงแต่งพลังงานให้เป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็จะมาดึงไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนี้ทุกข์ก็จะเกิดไม่ได้ ทุกข์จะดับไปตามสติที่เรารู้เท่าทัน การเจริญสตินี้จะเป็นการดับทุกข์ในเวลาปัจจุบัน เป็นปัจจุบันขณะ ไม่ได้หลบเข้าไปในอารมณ์ของฌานที่ลึก หรือหลบเข้าไปในภาวะจิตที่ดับสัญญาเวทนา อันเป็นภาวะจิตที่อยู่ลึก จิตดับไปไม่รับรู้สิ่งใด การเจริญสติจึงเป็นการดับทุกข์ที่เหตุของมัน เมื่อดับเหตุได้ผลมันก็ดับตาม ดับเหตุไปเรื่อยๆ เกิดเหตุตรงไหน ที่ตา ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ เกิดตรงไหนเราก็ดับตรงนั้น เหตุดับ ผลดับไปเรื่อยๆ การดับทุกข์ด้วยการเจริญสติเช่นนี้ ก็คือ นิโรธ เป็นความดับทุกข์ในความหมายของอริยสัจสี่ เพราะมันจะนำไปสู่มรรค
ไตรลักษณ์ 3 อริยสัจ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 6
ไตรลักษณ์ 3 อริยสัจ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 6 มีความสัมพันธ์กันดังนี้
อริยสัจ 4 ประกอบด้วยขั้นตอนการฝึกจิต และเป็นความจริง 4 ประการ คือ
ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ดำรงอยู่ได้ยาก เป็นความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ การจะฝึกจิต ให้พัฒนาขึ้นมานั้น ผู้ฝึกควรมีแรงผลักดันจากการเห็นความทุกข์ที่แอบแฝงในชีวิตตนเอง ยิ่งสามารถตระหนักเห็นทุกข์ได้มากเท่าไร ก็จะส่งผลให้การฝึกจิตพัฒนาขึ้นเท่านั้น
สมุทัย คือ สาเหตุของทุกข์ อันเกิดจาก จิตไม่รู้เท่าทันการเกิดขึ้นของจิต เมื่อเกิดการกระทบ ผัสสะ ขึ้นที่อายตนะทั้ง 6 คือ ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดการปรุงแต่งเป็นขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วจิตก็มายึดเกาะขันธ์ 5 เกิดอุปาทานว่าขันธ์ 5 เป็นของจริง นิ่ง และเที่ยง และในขณะเดียวกัน ขันธ์ที่เกิดมาก่อนหน้าก็มีแรงดึงคอยรัดจิตไว้ให้มายึดเกาะขันธ์เช่นกัน การจะฝึกจิตให้พัฒนาขึ้นมานั้น ผู้ฝึกควรมีแรงผลักดันจากการเห็นสาเหตุของความทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตของตนเอง ยิ่งสามารถเห็นและเข้าใจสาเหตุทุกข์ได้มากเท่าไร ก็จะส่งผลให้การฝึกจิตพัฒนาขึ้นเท่านั้น
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ โดยการเจริญสติ ฝึกจิตให้มีสติรู้เท่าทันการกระทบผัสสะที่เกิดขึ้นตามอายตนะ เพื่อให้เห็นภาวะของขันธ์ที่เกิดขึ้นตามอายตนะเป็น ไตรลักษณ์ 3 ประการ ได้แก่ อนิจจัง คือ ไม่เที่ยง ทุกขัง คือ เป็นทุกข์ ดำรงอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ยึดถือเอาไม่ได้ อนัตตา ไม่มีตัวตนถาวร เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วจิตก็จะไม่หลงเข้าไปยึดเกาะขันธ์ที่เกิดขึ้น ทุกข์ก็จะดับไปตามสติที่เรารู้เท่าทัน เป็นปัจจุบันขณะไปเรื่อยๆ
ผลจากการฝึกสติเช่นนี้ จิตเราจะเกิดปัญญารู้เท่าทันการกระทบผัสสะ และรู้เท่าทันขันธ์ 5 สามารถดับทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ เกิดผัสสะขึ้นมาเมื่อไร สติก็ดับเหตุที่กระทบนั้น ผลที่มันจะเกิดเป็นความทุกข์ก็ถูกดับไปได้เรื่อยๆ เมื่อฝึกฝนมากขึ้นกำลังสติก็เพิ่มขึ้น จนมีรอบของความถี่และความเร็วของสติ มากกว่า รอบของความถี่และความเร็วของผัสสะ จิตเราจะเกิดปัญญาอยู่เหนือ ผัสสะ และขันธ์ 5 และจะมีปัญญาอยู่เหนือทุกข์ เป็นภาวะที่จิตกับขันธ์แยกตัวออกจากกัน เมื่อฝึกมากขึ้นอีกกำลังสติก็จะเพิ่มขึ้นอีก จนกำลังสติที่เกิดขึ้นจะมากกว่าแรงดึงจากขันธ์ที่จะคอยมาดึงจิตให้ไปรวมกับขันธ์ จิตเราจะมีปัญญาปล่อยวางขันธ์ 5 ได้ และจะมีปัญญาปล่อยวางทุกข์ได้ เมื่อจิตปล่อยวางขันธ์ 5 ได้ ก็จะหลุดพ้นจากขันธ์ 5 เราก็จะได้เห็น มรรค
มรรค คือ ความพ้นทุกข์ หรือ ทางพ้นทุกข์ อันเป็นผลจากการที่เราปล่อยวางขันธ์ 5 ได้ เมื่อเราปล่อยวางจากขันธ์ 5 ได้ จิตเราก็จะหลุดพ้นจากขันธ์ 5 เราจะได้เห็น ทาง หรือ มรรค มรรคก็คือสภาวะของจิตเดิมที่เป็นธรรมชาติ ธรรมชาติเดิมที่ยังไม่ถูกขันธ์ 5
ครอบงำ การที่จิตหลุดออกมาจากขันธ์นี้ เรียกว่า วิมุตติ จิตหลุดพ้นมีดวงตาเห็นธรรม
วิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นการฝึกเจริญสติปัฏฐาน เป็นการฝึกสติโดยใช้อายตนะเป็นฐานที่ใช้ฝึกเพื่อให้รู้เท่าทันการกระทบผัสสะ เพื่อดับทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะ เป็นการดับทุกข์ หรือ นิโรธ ในความหมายของการดับทุกข์อริยสัจ 4 เพื่อให้จิตได้พบกับ มรรค พ้นทุกข์จากขันธ์ 5
ระดับพลังของจิตที่เหมาะสมในการฝึกสติ
ในการที่จะฝึกสติ ที่จะเป็นสติปัฏฐานจนสามารถดับทุกข์ได้นั้น องค์ประกอบที่ทำให้เกิดสติปัฏฐาน ก็คือ ระดับพลังของจิตที่เหมาะสม และกระบวนการที่ใช้ฝึกที่ถูกต้อง ระดับของพลังจิตนั้น มีทั้ง ระดับจิตที่เป็นภาวะปกติไม่ถึงฌาน กับระดับจิตที่ถึงฌาน อันเกิดขึ้นจากการฝึกจิตให้สงบด้วยวิธีสมถกรรมฐาน ระดับจิตที่เกิดขึ้น ก็มีอยู่ สี่ระดับใหญ่ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
เมื่อพิจารณาระดับจิต ระดับต่างๆ เราจะเห็นว่าระดับจิตที่อยู่กับขันธ์ 5 คือ ความนึกคิด ความรู้สึก อารมณ์ จิตก็จะหยาบเกินไปไม่สงบ มีสิ่งขัดขวางกั้นบังจิต จิตไม่มีกำลังพอที่จะเท่าทันผัสสะได้
  • หากจิตอยู่ในจตุตถฌาน อยู่กับความว่าง ก็พิจารณาอะไรไม่ได้ อยู่ข้างในเกินไปไม่รับรู้สภาพภายนอก
  • หากจิตอยู่ในตติยฌาน อยู่กับสุข ก็พิจารณาอะไรไม่ได้อีก ยังอยู่ข้างในเกินไปไม่รับรู้สภาพภายนอก
  • หากจิตอยู่ในทุติยฌาน อยู่กับปีติ ก็พิจารณาอะไรไม่ได้อีก แม้จะอยู่ใกล้สภาพภายนอกก็ตาม เพราะสภาพรู้ถูกบิดเบือนด้วยคลื่นแรงโน้มถ่วง จากจุดศูนย์กลางใจ
  • หากจิตอยู่ที่ปฐมฌาน อยู่กับวิตก วิจารณ์ หรือ ความนึกคิดที่เบาบาง จนถึงขั้นวิตกวิจารณ์ดับไป ก็จะเป็นภาวะจิตที่เรายังสามารถพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ เพราะไม่อยู่ข้างในใจเกินไป จนจิตละเอียด ไม่รับรู้สภาพภายนอก และไม่อยู่ข้างนอกเกินไปจนจิตหยาบ ถูกขันธ์ 5 บังไปหมด
ปฐมฌานจึงเป็นระดับจิตที่เหมาะแก่การฝึกเจริญสติ เพราะเป็นระดับจิตที่สมดุลย์ ระหว่างความไม่สงบ กับความสงบ เป็นภาวะจิตที่เราสามารถรู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของการกระทบผัสสะ และของขันธ์ ที่เคยเห็นเป็นภาวะที่นิ่ง จะสามารถเห็นเป็นความเคลื่อนไหวเกิด ดับ ที่เกิด ดับ ต่อเนื่องได้ นอกจากภาวะของปฐมฌานที่สามารถจะเห็นการเกิดดับของผัสสะได้แล้ว ภาวะของฌานที่เกิดขึ้นยังไปทำให้กระบวนการของการเกิดดับของผัสสะช้าลง ทำให้เห็นการเกิดดับได้ง่ายขึ้น เมื่อจิตอยู่ในระดับจิตปฐมฌานนี้ หากเราเลื่อนความรู้สึกไปตั้งไว้ที่ฐานไหนในอายตนะทั้ง 6 ก็จะสามารถเห็นการเกิดดับและรู้เท่าทันผัสสะที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ปฐมฌาน จึงเป็นระดับจิตที่เหมาะสมที่เราจะนำไปใช้ฝึกจิตในขั้นวิปัสสนากรรมฐาน

สโตนเฮนจ์ (StoneHenge)

  สโตนเฮนจ์ (StoneHenge)
สโตนเฮนจ์ (StoneHenge) แห่งเมืองซาลเบอรี่ (Salisbury) ประเทศอังกฤษ มีอายุนานประมาณ 5,000-6,000 ปีผู้สนใจสามารถหาข้อมูลละเอียดมากเท่าที่ต้องการได้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ หากเป็นความรู้ที่ได้มาจากวิทยาศาสตร์ทางจิต จำเป็นต้องให้เครดิตกับ “ชาวแอตแลนตีส” ก่อนเมื่อประมาณ 13,000 ปี ล่วงมาแล้ว มหาอาณาจักรแอตแลนตีส เป็นศูนย์รวมของสรรพวิทยาการและ
อารยธรรมในยุคนั้น เรียกกันว่า “ยุคพีระมิด” เนื่องจากใช้พลังของพีระมิดเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทางจิต พลังจิต การสื่อสาร การเดินทาง การรักษาโรค การคำนวณบอกเวลาทางดวงดาวและกาแลคซี่ทั้ง 3 (ปฏิทินดาราศาสตร์) วิวัฒนาการด้านพลังงาน พลังจิต ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากชาวดาวอังคาร จนสามารถก้าวไปถึงลำดับสุดท้าย คือการเปลี่ยนวัตถุเป็นแสง และการเปลี่ยนแสงเป็นวัตถุ
วิวัฒนาการด้านพลังงานมีด้วยกัน 7 ระดับ คือ 1. ความร้อน 2. แสง 3. เสียง 4. แม่เหล็กไฟฟ้า 5. ปรมาณู 6. เส้นแสง 7. การเปลี่ยนวัตถุเป็นแสงและการเปลี่ยนแสงเป็นวัตถุ
1 เดือนล่วงหน้าก่อนการล่มสลายของมหาอาณาจักร มีนักบวชรูปหนึ่ง เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ยุคที่เหลือแต่พระธรรมคำสอน ของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ก่อนพระสมณโคดมของยุคนี้) นักบวชเป็นผู้มีความสามารถมาก มีพลังจิตสูง รู้อดีต อนาคต จึงได้รู้ถึงเวลาของการล่มสลายและยุบตัวจมลงในมหาสมุทรของมหาอาณาจักร ที่จะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน จากสาเหตุการใช้ “อาวุธแสง” ทำสงครามทำลายล้างแผ่นดินคู่อริ นักบวชได้ชักชวนและอพยพบุคคลที่เชื่อพาลงเรือ เดินทางร่วม 1 เดือนพ้นออกมาจากการยุบตัวของทวีปขึ้นฝั่งที่แถบลุ่มแม่น้ำไนล์ ประเทศอียิปต์ในปัจจุบันนี้ นักบวชได้บอกไว้อีกว่า “แผ่นดินมหาอาณาจักรแอตแลนตีสนี้จะคืนกลับอีกครั้งในรอบ 13,000 ปีข้างหน้า จะเป็นแผ่นดินที่สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและจิตวิญญาณของมนุษย์” พร้อมทั้งยืนยันสัจจวาจาในครั้งนั้น โดยใช้พลังจิตและความช่วยเหลือจากชาวดาวอังคาร สร้างสัญลักษณ์ สฟิงซ์ (Sphinx) ขึ้น ด้วยวิธีของการเปลี่ยนวัตถุเป็นแสงและการเปลี่ยนแสงเป็นวัตถุ เพื่อเคลื่อนย้ายหินขนาดใหญ่ทำเป็นรูปสิงห์หมอบ มีใบหน้าเป็นชาวดาวอังคาร จัดวางไว้ในแนวทิศตะวันออก ตะวันตก มีพลังมโนธาตุสำหรับสร้างเป็นแกนพลังงานโลกใหม่อยู่ที่เท้าหน้าขวาของสฟิงซ์
การสร้างสฟิงซ์มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 3 อย่าง
1. เป็นสัญลักษณ์แทนคำมั่นสัญญาของนักบวชที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดเพื่อกลับมาแก้ไขเหตุที่ได้สร้างไว้ในอดีต
2. จมูกสฟิงซ์เป็นแหล่งของพลังกระแสลมปราณ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการหายใจของชาวดาวอังคารในยามที่แวะเวียนมาเยือนโลกของเรา แต่ในที่สุดจมูกถูกอาวุธสงครามทำลายแตกหักจนจมูกตัน ชาวดาวอังคารจึงค่อนข้างลำบากเมื่อมาท่องโลก
3. เมื่อถึงเวลาครบรอบของการเปลี่ยนแปลงแรงดึงดูดเข้าสู่อิทธิพลของอีกกาแลคซี่ ผู้กลับมาทำหน้าที่จะใช้เท้าขวาเหยียบลงบนเท้าหน้าขวาของสฟิงซ์ เกิดการขับเคลื่อนของพลังมโนธาตุและกระแสลมปราณม้วนหมุนเป็นเกลียวเข้าสู่ศูนย์กลาง สร้างเป็นแกนพลังงานโลกใหม่ มีขั้วโลกอยู่ในแนวทิศตะวันออกและตะวันตก นักบวชรูปนั้น มีนามว่า รต (อ่านว่า ระตะ)
นับเป็นเวลาหลายพันปีที่อารยธรรมแอตแลนตีสได้ถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง แตกแยกออกเป็นหลายเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ แยกกระจัดกระจายออกจากลุ่มแม่น้ำไนล์ไปทั่วทุกส่วนของโลก พร้อมกับนำความรู้ของแอตแลนตีสเผยแพร่อย่างกว้างขวาง เช่นการทำมัมมี่ เคล็ดลับของการมีอายุยืน พลังพีระมิด รวมทั้งหลักการคำนวณของดวงดาวและกาแลคซี่ทั้ง 3 เป็นปฏิทินดาราศาสตร์ที่อธิบายถึงการสับเปลี่ยนแรงดึงดูดที่มีอิทธิพลต่อโลกและระบบสุริยจักรวาลในช่วง 26,000 ปี



ชาวมายา (มายัน) เป็นอีกชาติพันธุ์หนึ่งที่สืบเชื้อสายและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเผยแพร่อารยธรรมแอตแลนตีสสู่สายตาชาวโลกเป็นหลักฐานที่มีชีวิต บ่งบอกยืนยันว่า “แอตแลนตีส” มีอยู่จริง มิใช่เป็นเพียงตำนานเล่าขาน ชาวมายาจึงได้สร้างปฏิทินดาราศาสตร์ขึ้นด้วยเสาหิน แท่งหินขนาดใหญ่จำนวนหลายร้อยแท่งจัดวางเป็นวงกลมซ้อนกันอยู่ 3 วง และวิธีการสร้างเป็นวิธีเดียวกับการสร้างสฟิงซ์ คือเป็นผลงานของมนุษย์ผู้มีพลังจิตสูงร่วมมือกับชาวดาวอังคารในการเปลี่ยนหินแท่งใหญ่ที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 ตัน ให้เป็นพลังงานแสงก่อนแล้วเคลื่อนย้ายนำไปจัดวางในที่ที่ต้องการ และใช้พลังจิต เปลี่ยนพลังงานแสงคืนเป็นแท่งหินแท่งใหญ่อีกครั้งสโตนเฮนจ์ เป็นสัญลักษณ์ที่มีอายุประมาณ 5,000-6,000 ปี ใกล้เคียงกับยุคมหาพีระมิดของประเทศอียิปต์ ศาสตร์พีระมิดของชาวอียิปต์ เป็นตัวแทนของชาวแอตแลนตีสในการถ่ายทอดพลังของพีระมิดในศาสตร์การทำมัมมี่ทำสถานที่เก็บศพ เคล็ดลับการมีอายุยืน ยารักษาโรค ฯลฯ ตลอดจนปลูกฝังความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายที่แสนงดงาม ในขณะที่สโตนเฮนจ์ของชาวมายาสร้างขึ้นเพื่อเตือนภัยแก่ชาวโลกเมื่อถึงวาระการเปลี่ยนแปลงแรงดึงดูดของแต่ละกาแลคซี่ ในรอบ 13,000 ปี

    
 

พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ได้ไขปริศนาและอ่านความลับจากการจัดวางเสาหินเป็นวงกลม 3 วงไว้ดังนี้
เสาหินวงนอก เป็นวงกลมขนาดใหญ่ มีเส้นรอบวงกว้างโอบล้อมครอบคลุมวงกลมเล็กอีก 2 วงหมายถึง กาแลคซี่อันโดรเมดา (Andromeda Galaxy) พระอาจารย์เรียกกาแลคซี่นี้ว่า กาแลคซี่สะเทิน เพราะมีทั้งพลังงานเบา ดี และพลังงานหนัก มีขนาดใหญ่มาก เหมือนแผ่อาณาเขตปกป้องควบคุมไว้ทั้งกาแลคซี่ทางช้างเผือกและกาแลคซี่ไตรแองกุลัม
เสาหินวงกลาง หมายถึง กาแลคซี่ทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) เป็นกาแลคซี่ที่ดึงดูดระบบสุริยจักรวาลของเราไว้ในขณะนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ พระอาจารย์เรียกกาแลคซี่นี้ว่า กาแลคซี่หนัก เพราะพลังงานแรงดึงดูดที่เรียกว่าพลังงานแม่เหล็กโลกกำลังให้โทษอย่างรุนแรง และจะนำไปสู่การพลิกเพื่อเปลี่ยนแกนพลังงานโลกใหม่เข้าสู่อิทธิพลแรงดึงดูดของกาแลคซี่ไตรแองกุลัมอีกครั้ง เมื่อครบวาระ 13,000 ปี
เสาหินวงใน หมายถึงกาแลคซี่ไตรแองกุลัม (Triangulum Galaxy) มีขนาดเล็กกว่ากาแลคซี่ทางช้างเผือกพระอาจารย์เรียกกาแลคซี่นี้ว่า กาแลคซี่เบา เพราะเต็มไปด้วยพลังงานดี เบา ขาวนวล เหลืองสบาย เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์ และกำลังส่งอิทธิพลค่อยๆดึงโลก และระบบสุริยจักรวาลไปทางทิศตะวันออกทีละน้อยๆจนกว่าจะถึงวาระแกนโลกพลิกอีกครั้ง โลกและระบบสุริยจักรวาลจะตกอยู่ภายใต้แรงดึงดูดของกาแลคซี่ไตรแองกุลัมอย่างสมบูรณ์ไปอีกประมาณ 13,000 ปี
ฉะนั้นในช่วงระยะเวลา 26,000 ปี สุริยจักรวาลจะตกอยู่ภายใต้แรงดึงดูดของกาแลคซี่ทางช้างเผือก 13,000 ปี และอีก 13,000 ปีจะสลับมาอยู่ในอิทธิพลของกาแลคซี่ไตรแองกุลัม ดังนั้นเราคงพอจะรู้เหตุผลอย่างชัดเจนแล้วว่าการที่ขั้วโลกเหนือไม่ชี้ตรงไปทางทิศเหนือเสียทีเดียว ตามอิทธิพลแรงดึงดูดของกาแลคซี่ทางช้างเผือกแต่กลับตั้งเอียงไปทางทิศตะวันออก องศาเพราะต้านแรงดึงดูดของกาแลคซี่ไตรแองกุลัมไม่ได้ การมีแรงดึงดูดระหว่าง 2 แรงที่แตกต่างคือมากกว่าและน้อยกว่าทำให้กาแลคซี่ทางช้างเผือกส่งแรงดึงดูดมายังโลกเราในลักษณะดึงเข้าและผลักออกเข้าหาศูนย์กลาง เป็นแรงยืดและแรงหด ในขณะที่กาแลคซี่ไตรแองกุลัม
ตั้งอยู่ทางขวามือตรงกับทิศตะวันออก แรงดึงดูดที่ส่งมาจึงเกิดขึ้นเป็นแรงรับและแรงเหวี่ยง คือเหวี่ยงซ้าย-ขวา
 ผลจากการรับแรงกระทบแรงดึงดูดจากทั้งสองกาแลคซี่เป็นสาเหตุทำให้โลกของเรากำเนิดสิ่งมีชีวิตที่มีขันธ์ ครบ 5 ขันธ์ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) และตั้งชื่อเรียกว่า “มนุษย์” ซึ่งมีความแตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นที่อาจจะมีขันธ์เพียง 4 ขันธ์ เพราะขาดตัว “รูป” พวกเขาจึงมีลักษณะเป็นเพียงพลังงานท่องเที่ยวไปได้ทั่วจักรวาลและใช้พลังจิตเพื่อสร้าง “รูป” ขึ้นมาบ้างในบางครั้ง
ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา ทั้งแรงดึงเข้า-แรงผลักออก และแรงรับ-แรงเหวี่ยง จากทั้งสองกาแลคซี่เริ่มผิดปกติ คือมนุษย์แทบจะไม่รู้สึกถึงการกระทบของแรงเนื่องจากความหนาแน่นของพลังงานแม่เหล็กโลกที่ถมลงในโลกได้มาถึงจุดอันตราย ทำให้เกิดสภาพนิ่งเหมือนหยุดหมุน เป็นเหตุให้เชื้อไวรัสแบคทีเรีย ธรรมดาๆ กลับมาระบาดอีกครั้งพร้อมกับการกลายพันธุ์ ซึ่งภาวะนิ่งแบบนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

สฟิงซ์ สื่อความหมายบอกสถานที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นจุดสร้างแกนพลังงานโลกใหม่
สโตนเฮนจ์ บอกถึงกำหนดเวลาการเปลี่ยนขั้วอำนาจของแรงดึงดูดที่มีต่อโลกและระบบสุริยจักรวาล

ระบบวงโคจรของโลกและสุริยจักรวาลจะยังคงเคลื่อนที่ผิดปกติต่อไปอีก ถูกพลังงานแม่เหล็กโลกดึงเข้าใกล้ขอบกาแลคซี่ทางช้างเผือกทางทิศตะวันออกมากยิ่งขึ้น (ในอดีตเคยถูกดึงเข้าใกล้ทางทิศเหนือมาก่อน) เป็นสิ่งบ่งชี้ว่า พลังงานแม่เหล็กโลกกำลังอัดแน่นเพิ่มมากขึ้นๆ ทางทิศตะวันออก และเมื่อความหนาแน่นทวีขึ้นจนถึงอัตราสูงสุดจะเกิดการรีดตัวเป็นเส้นตรง พุ่งออกจากกาแลคซี่ทางช้างเผือกไปทางทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตรงเข้าหากาแลคซี่อันโดรเมดา แต่เนื่องจากกาแลคซี่อันโดรเมดามีขนาดใหญ่กว่ามาก จึงมีพลังแรงดึงดูดมากกว่ากาแลคซี่ทางช้างเผือกเป็นหลายพันเท่า พลังงานแม่เหล็กโลกจึงถูกอัด เด้งกลับคืนเข้าสู่ระบบสุริยจักรวาลและกาแลคซี่ทางช้างเผือก ซึ่งการเสียดสีของพลังงานจากทั้ง 2 กาแลคซี่ในครั้งนี้ จะทำให้แสงสว่างวาบขึ้น มองเห็นได้ทั่วจักรวาล ทั้งดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ต่างได้รับแสงสว่างนี้ถ้วนทั่วกัน มนุษย์ในโลกจะเห็นแสงนี้ปรากฏขึ้นทันทีทันใด แบบที่ไม่ต้องตั้งตาคอย เป็น “แสงที่วาบ” อย่างรวดเร็ว เหมือนละครปิดฉากและผ้าม่านเวทีถูกดึงปิดทันที จากนั้นจะเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและพลังงานของโลก สุริยจักรวาลครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งเหมือนกับที่มหาอาณาจักรแอตแลนตีสเคยประสบมาแล้วเมื่อ 13,000 ปีที่ผ่านมา แต่ในครั้งนี้เป็นการวนครบรอบเปลี่ยนเข้าสู่อิทธิพลแรงดึงดูดของกาแลคซี่ไตรแองกุลัม เป็นเวลาอีกประมาณ 13,000 ปี และถ้าหากปรากฏการณ์เหล่านี้ได้เกิดขึ้นจริง โลกของเราจะมีทั้งแกนสสารและแกนพลังงานโลกใหม่ โดยมีขั้วโลกตั้งอยู่ ณ จุดที่ตั้งของสฟิงซ์ มีการเปลี่ยนที่กันระหว่างพื้นดิน 1 ส่วน กับพื้นน้ำ 3 ส่วนทั่วโลก มหาสมุทรแอตแลนติกคงมี
โอกาสคืนกลับมาเป็นผืนแผ่นดินกว้างใหญ่อีกครั้ง เทือกเขาหิมาลัยอาจจะลดต่ำลงมาเป็นที่ราบกว้างใหญ่ของทวีปเอเชีย (เปลี่ยนแผนที่โลกใหม่) กล่าวโดยรวมคือช่วงเวลา 13,000 ปีครั้งนี้จะเป็นยุคทองของทรัพยากรธรรมชาติและจิตวิญญาณของมนุษย์ นักบวชรูปนั้น ได้ทำหน้าที่ของท่านเรียบร้อยแล้ว

ภาพแสดงถึงกาแลคซี่ทั้ง 3 ที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ เป็นภาพที่ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ใช้ “จิต” ศึกษา

6 วิธีสร้างพลังจิตให้คิดรวย

ที่มา : หนังสือยุทธศาสตร์พัฒนาจิต
ความเดิมต่อจากตอนที่แล้วจ้ะ

             ตามหลักของความเป็นจริง บุคคลใดคิดอย่างใดก็จะเป็นคนเช่นนัั้น
มาดูหลักการสร้างพลังจิตให้คิดรวยดังนี้

6 วิํธีสร้างพลังจิตให้คิดรวย

1     คนรวยมีความคิดที่เชื่อว่า ฉันสามารถสร้างสรรค์ชีวิตของฉันได้
       คนจนมีความคิดที่เชื่อว่า  ชีวิตของฉันปล่อยไปตามยถากรรม
ถ้าคุณต้องการชีวิตที่มั่งคั่งร่ำรวย คุณจะต้องคิดอยากรวยก่อนเป็นประการแรก
โดยที่คุณถือพวกมาลัยรถยนต์แห่งชีวิตคุณเอง คิดถึงการที่จะมีเงินได้
อย่างไร วิธีใด โดยมีความเชื่อว่า การเงินที่คุณปรารถนานั้น จะต้องมี
ได้ดังที่คุณปรารถนา
         ต่อไปนี้เป็นการบ้านที่คุณต้องทำ ผมขอสัญญาว่า จะสามารถเปลี่ยน
ชีวิตของคุณได้ใน 7 วันข้างหน้า  ลงมือปฏิบัติ
         -อย่างคิดถึงความยากจนอีกต่อไป
         -อย่าบ่นว่า ฉันจะมีเงินได้อย่างไร มีความรู้น้อย การศึกษาต่ำ รูปร่าง
ไม่สง่างามเหมือนเขา
         -แต่จงคิดแง่บวก คิดดีในด้านสร้างสรรค์ พัฒนาในด้านที่เป็นไปได้ คือ
ไม่ว่าคุณทำอาชีพอะไร ต้องคิดว่า คุณต้องทำได้ คุณต้องได้เงิน และมีเงินได้
คุณต้องประสบความสำเร็จได้

         2 คนรวยคิดรวย คิดได้อย่างมีเ้ป้าหมาย ว่าต้องการอะไร
คุณต้องรู้สิ่งที่คุณต้องการก่อน แล้วจึงคิั้ดที่จะทำให้ได้สิ่งนั้นมา โดยกำหนด
เป้าหมายที่จะให้ได้สิ่งนั้นเมื่อไรในอนาคต  และต้องการจะได้มากน้อย
แค่ไหน ตั้งใจอย่างมุ่งมั่นที่จะได้สิ่งนั้นมาภายในเวลาที่กำหนด
           เมื่อคุณต้องการ โดยมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะก้าวไปสู่
การมีเงิน มีฐานะดี มีความเป็นอยู่ดี  เป้าหมายของคุณก็คือ ต้องการมีเงิน
มีฐานะ และความเป็นอยู่ดี โดยคิดมุ่งหวังอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา

         3 คนรวยตั้งปณิธานว่า ต้องรวยให้ได้ในชีวิตนี้
            คนจนไม่เคยตั้งปณิธานว่าจะต้องรวยให้ได้ในชีิวิตนี้
คนเราส่วนมากคิดดีอย่างมีเหตุผล ว่าทำไมจึงอยากรวย เพราะความร่ำรวย
มีเงินมีทองนั้นหมายถึง การที่จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นในหลาย ๆ ด้าน
แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะถ้าหากมีเงินร่ำรวย แต่มาจนด้านสุขภาพจิตและร่างกาย
เสียแล้ว เป้าหมายที่จะมีเงินร่ำรวยอย่างต่อเนื่องก็ต้องหยุดชะงักลงทันที
สิ่งทีดังนั้น เป้าหมายที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ก็คือ ต้องมี
สุขภาพดี อยู่เสมอด้วยเช่นกัน
น             สิ่งที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ คนส่วนมากไม่ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ เป็น
เพราะำพวกเขาไม่รู้แน่ชัดว่า สิ่งที่พวกเขาต้องการจริง ๆ นั้นเป็นอะไร เป็น
สิ่งใด ส่วนคนรวยนั้น จะรู้สิ่งที่เขาต้องการอย่างชัดเจน แล้วก็คิดมุ่งมั่นอยู่กับ
สิ่งที่เขาต้องการโดยไม่มีวันหยุด เขาจะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะให้ได้สิ่ง
ที่เขาปรารถนาให้จงได้ แต่ไม่ได้ทำผิดกฏหมายและศีลธรรม

            ความคิดที่ต้องมีเงินหรือร่ำรวยนั้น ไม่เหมือนกับความคิด เดินเล่นอยู่
ในสวนสาธารณะ ต้องคอยกำหนดจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ต้องการอันเป็นเป้าหมาย
อย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่อง ด้วยความพากเพียรพยายามอย่างไม่หยุดคุณต้อง
มีความเชื่ออยู่ในจิตว่าคุณต้องทำได้ แต่ถ้าไม่มีความตั้งใจมุ่งมั่นแน่วแน่วแล้ว
การที่จะไปให้ถึงเป้าหมายที่คุณปรารถนนั้นก็เป็นไปได้ยาก

           4 คนรวย คิดใหญ่ คิดอย่างมีพลัง คิดต้องได้ คิดต้องมี
              คนจน คิดเล็ก คิดได้ก็ดี ไม่ได้ช่างมัน
ความลับของความร่ำรวยแท้จริงแล้วอยู่ที่  พลังอำนาจของความคิด ขึ้นอยู่
กับผู้คิด คิดอย่างไรมักได้อย่างนั้น บุคคลที่รู้จักใช้ความคิดหรือรู้จักคิดย่อม
ใช้พลังอำนาจของความคิดเป็นพลังงานดึงดูดสิ่งที่ต้องการเข้ามาสู่ตนได้
พลังความคิดที่จะเกิดผลได้ จะต้องมีความเชื่อร่วมด้วย

            5 คนรวย ไม่คิดถึงปัญหา หากมีปัญหาก็คิดว่าเป็นแรงเสริมให้
มุ่งมั่นเข้มแข็งขึ้น
                คนจน  คอยคิดถึงแต่ปัญหา หากมีปัญหาก็ยอมแพ้ หยุดสู้ต่อไป
การที่จะร่ำรวยได้นั้น ไม่เหมือนกับการเดินเล่นอยู่ในสวนสาธารณะ แต่หาก
เป็นการเดินทางที่ต้องพบกับอุปสรรคมากมาย ดังที่นักประพันธ์บางคน
กล่าวว่า ชีิวิตเรานั้นใช่ว่าจะเดินอยู่บนกลีบกุหลาบ หากต้องเดินอยู่บนถนนที่
ขรุขระหรือมีขวากหนามบ้าง ชีวิตจึงจะมีรสชาติ เป็นคำกล่าวที่จริงทีเดียว
คนที่จะมีเงินมีทองได้ต้องทำงานหนัก คนที่จะมีชื่อเสียงได้ต้องทำงานหนัก
ไม่ใช่อยู่เฉย ๆ แล้วจะได้เงินได้ทอง ได้ชื่อเสียง ผู้ที่ประสบความสำเร็จทุกคน
ล้วนแล้วแต่เป็นนักผจญภัยชีวิตที่ยอดเยี่ยม ฟันฝ่าอุปสรรคนานาชนิดมามากมาย
กว่าจะมาถึงจุดนี้คือจุดที่มั่งมีเงินทอง มีชื่อเสียง
              คนจน เห็นอุปสรรคความยากลำบากเข้าหน่อยก็เกิดความท้อใจ
พยายามหาทางหลีกเลี่ยงความยากลำบากอยู่เสมอ ไม่เคยคิดกล้าที่จะฟันฝ่า
อุปสรรคความยากลำบากนั้นเลย ชอบความเป็นอยู่ที่ง่าย ๆ สะดวกสบาย
บุคคลประเภทนี้ยากที่จะเจริญ  ยากที่จะร่ำรวย และยากที่จะประสบความสำเร็จ
มีชื่อเสียงได้
            คนรวย ไม่มีความย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ่นเห็นอุปสรรคเป็นสิ่งที่
ช่วยพัฒนาให้มีพลังจิตที่กล้าแข้งอดทน และก่อให้เกิดประสบการ์ณ ก่อให้
เกิดปัญญาที่ช่วยให้รู้วิธีแก้ไขต่อไป ไม่ว่าอุปสรรคชนิดใดเข้ามา ก็จะเอา
ประสบการ์ณและปัญญาในอดีตมาฟันฝ่าแก้ปัญหานั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้

            6 คนรวย พยายามจ้องมองหาโอกาสอยู่เสมอ
               คนจน พยายามจ้องมองหาปัญหาอยู่เสมอ
คนรวยเป็นคนที่แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนอยู่เสมอ เป็นการเตรียมตัวรอโอกาส
ที่จะมาถึง เปรียบดังชาวประมงที่เตรียมใบเรือให้พร้อมอยู่เสมอพอลมมาก็แล่นเรือ
ออกสู่ทะเลลึกได้ทันที การเตรียมความรู้ความสามารถให้พร้อมอยู่เสมอเป็นการดี
เมื่อโอกาสมาถึงก็สามารถตอบรับโอกาสนั้นได้ทันที
               คนจนมักเป็นคนที่ชอบความสะดวก ง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่คิดด้ิิ้นรนแต่
ประการใด ไม่รักความรู้ ไม่คิดแสวงหาความรู้เลย ไม่เตรียมตัวเพื่อการใด ๆไม่เคย
คิดถึงโอกาส และคิดว่าชีวิตนี้ของตนเอง คงไม่มีโอกาสที่จะมีงานที่ดีคิดว่าไม่มี
ทางที่จะมีเงินร่ำรวยอีกแล้ว จึงปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามมีตามเกิดหรือตามยถา
กรรม เหมือนปลาตายที่ลอยตามน้ำเท่านั้น
               ในโลกทางการเงิน ความกล้าเสี่ยงบางครั้งก็ทำให้ได้รับรางวัลของ
ความกล้าเสียงได้อย่างคุ้มค่า รางวัลที่สูงค่า ย่อมต้องกล้าสู้ความเสี่ยงที่สูง
ด้วยเช่นกัน คนรวยมักเป็นผู้ที่กล้าเสียงเสมอ
               คนรวย มีความคาดหวังต่อความสำเร็จ เขามีความมั่นใจต่อความ
สามารถของเขา มีความมั่นใจต่อความคิดสร้างสรรค์ตลอด และมีความเชื่อ
มั่นว่า สิ่งที่เขาทำต้องประสบความสำเร็จ
               คนจน มีความคาดหวังต่อความล้มเหลว เพราะเขาขาดความมั่นใจ
ในตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของเขา และคิดว่าสิ่งที่เขาทำ
คงเป็นไปไม่ได้ที่จะประสบความสำเร็จ เขาเชื่อว่า ถ้าเขาทำไปจะต้องประสบ
ความหายนะแน่นอน
              อย่างไรก็ตาม คนเราเกิดมา ถ้ามีร่างกายครบ 32 มีจิตใจเป็นปกติดี
และรู้จักใช้ความคิด ย่อมต้องทำบางสิ่งเพื่อเป็นการลงทุนให้กับชีวิตบ้าง
เริ่มตัดสินใจ ตั้งใจที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อให้มีการเงินดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เดิม
ควรแสวงหาโอกาสที่จะสร้างผลกำไรให้แก่ชีวิตของตน แทนที่จะคิดถึงการ
ขาดทุน สูญเสีย และล้มเหลว
             วันนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายพัฒนาศักยภาพในการปลุกความคิด
ให้มีพลังอำนาจของความคิดปรากฏขึ้นในจิตใต้สำนึกอย่างชัดเจน เป็นพลัง
ผลักดันให้ท่านมีความคิดที่มีพลังมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายได้อย่างประสบ
ความสำเร็จ สมความปรารถนา